Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ประวัติเพลง ลาวคำหอมและลาวดวงเดือน

ประวัติเพลง ลาวคำหอมเป็นเพลงที่แต่ขึ้นเพื่อร้องอวดกันในการเล่นสักวา โดยจะแต่งขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่มีเพลงใดเป็นสมุฏฐาน โดยเพลงเหล่านี้จะมีทำนองที่แต่ขึ้นอย่างไพเราะคมคาย เพลงลาวคำหอมเป็นเพลงที่จ่าเผ่นผยองยิ่ง (โคม) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า "จ่าโคม" นัก ร้องและนักแต่งเพลงสักวามีชื่อผู้หนึ่งแต่งขึ้นโดยอัตโนมัติทั้งบทร้องและ ทำนองเพลง เพลงลาวคำหอมนี้ แม้จะมีประโยคคล้ายและลีลาเป็นอัตรา 2 ชั้นก็จริง แต่ก็มีความยาวไล่เลี่ยกับเพลงอัตรา 3 ชั้น บางเพลง และมีทำนองไพเราะน่าฟังมากจนเป็นที่นิยมแพร่หลายเข้ามาในวงการร้องส่งดนตรี โดยทั่วไป เมื่อทำนองเพลงลาวคำหอมได้รับความนิยมเข้ามาในวงการร้องส่งดนตรี พระยาประสาน ดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) จึง แต่งทำนองดนตรีขึ้นสำหรับบรรเลงรับร้อง โดยถอดจากทำนองร้องของจ่าเผ่นผยองยิ่งอีกชั้นหนึ่ง และก็ได้รับความนิยมแพร่หลายในวงการดนตรีทุกชนิดจนปัจจุบัน


ประวัติเพลง ลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยอมตะอันไพเราะจับใจคนไทยทั้งชาติมานานจนทุกวันนี้และจะเป็น เพลงอมตะ คู่ชาติไทยสืบไปแต่เบื้องหลังของเพลงมีความเศร้าอันลึกซึ้งแอบแฝงอยู่ซึ่ง น้อยคนนักที่จะได้ทราบ
ผู้ประพันธ์เพลงนี้ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมหรือพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และเจ้าจอมมารดามงกุฎประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๒๕
พระองค์เจ้าชาย เพ็ญ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษเมื่อเสด็จกลับมาแล้วทรงเข้ารับราชการใน ตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการใน พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม
กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างมากเมื่อเสด็จกลับจากอังกฤษแล้ว ทรงโปรดให้มีวงปี่พาทย์วงหนึ่งเรียกกันว่า วงพระองค์เพ็ญนอกจากนี้พระองค์ยังทรงเล่นดนตรีได้หลายเครื่องและยังทรงเป็น นักแต่งเพลงที่สามารถพระองค์หนึ่งโดยได้ทรงแต่งเพลง ลาวดวงเดือนซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ในปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสมัยที่ดนตรีไทย โดยเฉพาะปี่พาทย์ได้รับความนิยมแพร่หลายตามบ้านท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ และวัดวาอารามต่างก็มีวงปี่พาทย์เป็นประจำกันมากมายเจ้านายหลายพระองค์ก็มี วงปี่พาท์ประจำวัง มีครูบาอาจารย์ไว้ฝึกสอนปรับปรุงคิดประกวดประขันกันอย่างเอาจริงเอาจัง เช่นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็มีวง วังบูรพาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็มีวง วังบางขุนพรหมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารก็มีวงปี่พาทย์ ชื่อว่า วงสมเด็จพระบรมและพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมก็มีวงปี่พาทย์วง หนึ่งของพระองค์เรียกว่าวงพระองค์เพ็ญซึ่งแต่ลงวงล้วนแต่มีนักดนตรีที่มีฝีไม้ลายมือยอดเยี่ยมทัดเทียมกัน กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม นอกจากจะทรงสนพระทัยในวงปี่พาทย์ของพระองค์เยี่ยงเจ้านายท่านอื่นๆแล้ว ยังทรงเป็นนักแต่งเพลงชั้นดีพระองค์หนึ่งด้วยทรงคิดประดิษฐ์ทำนองเพลงใหม่ๆ แปลกๆอยู่เสมอพระองค์ทรงโปรดท่วงทำนองลีลาของเพลง ลาวดำเนินทราย เป็นอันมากเพราะเพลงนี้เป็นเพลงสำเนียงลาวอันอ่อนช้อยนุ่มนวลเห็นภาพพจน์ บรรยายกาศของภูมิประเทศ และวัฒนธรรมไทยภาคเหนือใน พ.ศ. ๒๔๔๖ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ ได้ทรงเสด็จขึ้นไปเที่ยวนครเชียงใหม่อันเป็นนครแห่งศูนย์กลางวัฒนธรรมล้านนา สมัยนั้นสมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ประจำมลฑลพายัพได้ จัดการรับเสด็จต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงค์อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการรับเสด้จอย่างประเพณีชาวเหนือโดยแท้โดยให้ ประทับในคุ้มหลวงและเสวยพระ
กระยาหารแบบขันโตกมีการแสดงละครและดนตรีในคุ้ม นี้ด้วย

ในงานต้อนรับเสด็จครั้งนี้เจ้าอินทวโรรสแลเเจ้าแม่ทิพยเนตรได้ ชวนเชิญเจ้าพี่เจ้าน้องและพระญาติวงศ์มาร่วมรับเสด็จโดยพร้อมเพียงกันใน บรรดาพระญาติวงศ์เจ้านายเชียงใหม่ปรากฎว่ามีเจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิง คำย่นพร้อมด้วยธิดาองค์โต นามว่า เจ้าหญิงชมชื่น อายุเพิ่งย่างเข้า ๑๖ ปีมาร่วมในงานนี้ด้วย เล่ากันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องเป็นนวลใยใบหน้าอิ่มเอิบเปล่ง ปลั่งดุจพระจันทร์วันเพ็ญ มีเลือดฝาดขึ้นบนใบหน้าจนแก้มเป็นสีชมพู เพราะผิวขาวประดุจงาช้างอยู่แล้วอีกทั้งเจ้าหญิงชมชื่นเป็นกุลสตรีที่เรียบ ร้อยอ่อนหวานน่ารักเจรจาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะด้วยความงามอันน่าพิศวง ประกอบกับความน่ารักนุ่มนวลละมุนละไมจึงเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

พระองค์ เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ ๒๑ ปีบังเกิดความสนพระทัยในดรุณีแน่งน้อย อายุ ๑๖ ปีนี้มากกล่าวกันว่า พระองค์เมื่อได้เห็นเจ้าหญิงชมชื่นก็ถึงกับทรงตะลึงในความงามอันน่าพิศวงจน เกิดความพิสมัยขึ้นในพระทัยเหมือนกับชายหนุ่มพบคนรักครั้งแรก!!
ในวันต่อ มา พระยานิรศราชกิจ ข้าหลวงมลฑลพายัพเป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวัด บ้านปิงเจ้าหญิชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนักเรียนนอกผู้สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษพระองค์นี้หลาย ครั้งหลายหน
นานวันเข้าพระองค์เจ้าชายเพ็ญก็ยิ่งเกิดความปฏิพัทธ์หลงใหล ในเจ้าหญิงชมชื่นเป็ยนิ่งนักพระองค์จึงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่า แก่เจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่น ให้เป็นหม่อมของพระองค์
แต่การเจรจาสู่ ขอกลับได้รับการทัดทานจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์โดยขอผัดผ่อนให้ เจ้าหญิงชมชื่นอายุครบ ๑๘ ปี เสียก่อนและตามขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสกุลนั้นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ใดจะ ทำการอภิเษกสมรสจะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อนเพื่อ ได้รับเป็นสะใภ้หลวง ได้รับยศและตำแหน่งตามฐานะหากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ในตอนนี้เจ้าหญิงก็จะตก อยู่ในฐานะภรรยาน้อยหรือนางบำเรอเท่านั้น
เฒ่าแก่ข้าหลวงใหญ่ยอมจำนนต่อ เหตุผลของเจ้าสัมพันธวงศ์นำความผิดหวังกลับมาทูลให้พระองค์ชายทราบพระองค์ ชายก็ได้รับความผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเพราะเมื่อจะมีรักครั้งแรกทั้ง ทีก็มีกรรมบันดาลขัดขวางไม่ให้รักสมหวังไม่ได้เชยชมสมใจความทุกข์โศกใดจะ เทียมเทียบเปรียบปาน
เมื่อผิดหวังก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพด้วยความร้าวรานพระทัยคงปล่อยให้เชียงใหม่เป็นนครแห่งความรักและความหลังของพระองค์

ครั้น ถึงกรุงเทพ เรื่องการสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้แพร่สะพัดไปในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ทรงทัดทานอย่างหนัก หน่วงโดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานาเป็นอันว่า ความรักของพระองค์ประสบความผิดหวังอย่างสิ้นเชิงทุกประการ
ครา ใดสายลมเหนือพัดมา… พระองค์ชายของเราก็แสนเศร้ารันทดใจครานั้น…เศร้าขึ้นมาคราใด พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ก็เสด็จไปฟังดนตรีตามวังเจ้านายต่างๆ ทั้ง วังสมเด็จ วังบูรพา และวังบางขุนพรหมทุกครั้งที่ทรงสดับดนตรีและทรงดนตรีพระองค์จะโปรดเพลง ลาวเจริญศรี เป็นพิเศษเพราะเป็นเพลงที่นอกจากจะมีความไพเราะอ่อนหวานแล้วยังมีบทร้องที่ ว่า
“อายุเยาวเรศรุ่นเจริญศรีพระเพื่อนพี่แพงน้องสองสมรงามทรงงามองค์อ่อนซ้อนดังอัปสรยหาดฟ้าลงมาเอย”บท ร้องนี้ ทำให้พระองค์หวนรำลึกถึงโฉมอันงามพิลาสของเจ้าหญิงชมชื่นผู้เป็นที่รัก พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยของพระองค์ลงในพระนิพนธ์บทร้อง ลาวดวงเดือนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงเจ้าหญิงผู้เป็นเจ้าหัวใจ ดังนี้…

“โอ้ ละหนอ… ดวงเดือนเอย ข้อยมาเว้า รักเจ้าสาวคำดวงโอ้ดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอยขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุมภ์ ข้อยนี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียมจะหาไหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอยหอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอยหอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชย….เอ๋ย..เราละหนอ
โอ้ละหนอ นวลตาเอย ข้อยนี้รัก แสนรักดังดวงใจโอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกอาลัยเจ้าดวงเดือนเอยเห็นเดือนแรม เริดร้างเวหา ข้อยเบิ่งดูฟ้า (ละหนอ) เห็นมืดมนพี่จะทนทุกข์…ทุกข์ทน เจ้าดวงเดือนเอยเสียงไก่ขันขาน มันหวานเจื้อยแจ้ว ช่างหวานสุดแล้ว หวานแจ้วเจื้อยเอยถึงจะหวาน เสนาะ หวานเพราะกระไรเลย บ่เหมือนทรามเชย…เราละหนอ…”

นี่เอง เป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์เศร้าของพระองค์เป็นอนุสรณ์ เตือนจิตให้สะท้อนรัญจวนหวนคำนึงรำลึกถึงโฉมงามของเจ้าหญิง-ความรัก-ความ หลังคราใดที่ทรงรำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่นพระองค์ก็ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องปลอบ หฤทัยให้คลายเศร้าถ้าไม่ทรงดนตรีเองก็ให้มหาดเล็กข้าหลวงเล่นให้ฟังด้วยลาว เจริญศรี และลาวดวงเดือน ซึ่งขาดไม่ได้ตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน
กรม หมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงมีพระชนมายุน้อยมากเนื่องจากทรงมีอารมณ์อ่อนไหวละเอียดอ่อนและประกอบกับ พระวรกายไม่ค่อยมบูรณ์แข็งแรงเท่าไรนักอีกทั้งทรงหมกมุ่นกับหน้าที่การงาน เพื่อจะให้ลืมความหลังอันแสนเศร้าของพระองค์ที่ฝังใจอยู่ตลอดเวลาอาจเป็น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระชนมชีพของพระองค์สั้นจนเกินไปพระองค์ด่วนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกาน พ.ศ. ๒๔๕๓พระชันษา ๒๘ ปีเท่านั้นเพลง

ลาวดวงเดือน เพลงนี้ เป็นหลักฐานปรากฏผลงานการแต่งเพลงของพระองค์เพียงเพลงเดียวเท่านั้น เพราะไม่สามารถสืบทราบได้ว่าพระองค์ทรงแต่งเพลงใดขึ้นมาอีกหรือไม่ แม้ว่าจะทรงแต่งเพียงเพลงเดียวลาวดวงเดือน ก็ดูเหมือนจะเป็นเพลงที่พระองค์ทรงประพันธ์ด้วยชีวิตจิตใจ และวิญญาณ ความรัก-ความหลัง ของพระองค์ทั้งหมดลงในเพลงนี้...
เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงอันประดุจอนุสรณ์แห่งความรักอมตะระหว่าง…พระองค์เจ้าชายเพ็ญกับเจ้า หญิงชมชื่นผู้เลอโฉมและจะเป็นเพลงรักหวานซาบซึ้งตรึงใจอยู่ในห้วงหัวใจคนไทย ทั้งชาติต่อไปอีกนานเท่านาน…

http://www.youtube-nocookie.com/v/9juW2LZy4Ao?

ประวัติเพลง ลาวดวงเดือน
เรียบเรียงโดย อาจารย์สันติเทพ ศิลปบรรเลง
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย Menmen

รายการบล็อกของฉัน