Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

กำเนิดวงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง กระทรวงวัง

กำเนิดวงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง กระทรวงวัง
เรื่องราวของครู เพลงในยุคต่อๆ มาแต่ละคน แต่ละรุ่นนั้น ล้วนมีแหล่งกำเนิด ความรู้ ความชำนาญด้านดนตรีสากล มาจาก พระเจนดุริยางค์ ผู้ฝึกสอน ผู้ดูแล วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง หรือ วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร แทบทั้งสิ้น
จึงขอนำเอาเรื่องราวของ วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง มาเล่าสู่กันฟังโดยสังเขป ดังนี้คือ

พระ บาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชประสงค์ จะให้มีกิจการดนตรีสากลขึ้นในประเทศสยาม โดยมุ่งหวังให้ชาวไทย ได้รับรู้และสัมผัสกับดนตรีตะวันตก ตามแบบอย่างอริยะประเทศทั้งหลาย

ใน ปีพ.ศ 2455 ได้ทรงสถาปนาวงดนตรี เครื่องสายฝรั่งหลวง ขึ้นสังกัด กรมมหรสพ กระทรวงวัง โดยว่าจ้างครูฝรั่งชาวอิตาเลียนมาเป็นครูฝึกสอน นักดนตรีส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นนักดนตรีไทย สังกัดวงปี่พาทย์หลวงด้วยกันทั้งสิ้น การฝึกหัดจึงไม่สู้ได้ผล เพราะนักดนตรีแต่ละคนล้วนแล้วแต่สูงอายุ และไม่สันทัดกับเครื่องดนตรีตะวันตก

อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การสื่อความ เพราะครูผู้ฝึกสอนพูดภาษาไทยไม่ได้ นักดนตรีก็พูดและฟังภาษาต่างประเทศไม่ได้อีกเช่นกัน จำเป็นต้องอาศัยล่ามแปล ส่วนล่ามเองนั้น ก็มีพื้นฐานความรู้ด้านดนตรีน้อยมาก ปัญหาจึงเกิดขึ้นมากมายตลอดมา

เมื่อ ลุเข้าปีพ.ศ. 2457 ครูผู้ฝึกสอน จำเป็นต้องเดินทางกลับมาตุภูมิ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวงวงนี้จึงขาดครูผู้สอน เกิดความระส่ำระส่าย และค่อยๆ ทรุดโทรมลงไปทุกขณะ ผู้บัญชาการ กรมมหรสพ จึงได้กราบบังคมทูล ให้ยุบวงลงเสีย

แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสียดายที่จะยุบเลิกวงตามคำกราบบังคมทูล เพราะเป็นวงที่ทรงสถาปนาด้วยพระองค์เอง จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ขุนเจนรถรัฐ ซึ่งรับราชการอยู่กรมรถไฟหลวง และเป็นผู้มีความรู้และความชำนาญด้านการดนตรีสากล เนื่องจากได้เข้าร่วมกับวงดนตรีต่างประเทศอยู่เสมอๆ ให้มารับผิดชอบ ดูแลและฟื้นฟู วงดนตรีสากลวงนี้ต่อไปให้ได้

ขุนเจนรถรัฐ ได้เข้ามารับราชการที่ วงเครื่องสายฝรั่งหลวง เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2460 ในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกรม มีหน้าที่ฝึกสอนและปรับปรุงวงดนตรีนี้เพียงอย่างเดียว

ขุนเจนรถรัฐ หรือ พระเจนดุริยางค์ได้ปรับปรุงแนวทางของวงดนตรีวงนี้ ให้ถูกต้องตามแบบของดุริยางค์สากล และทำการฝึกซ้อมอย่างขะมักเขม้น จนมีสมรรถภาพดีขึ้นทันตาเห็น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงเจนดุริยางค์ ในเวลาต่อมา

ในชั่วเวลาเพียง 3 ปีต่อมา วงดนตรีวงนี้ก็สามารถบรรเลงเพลงไล้ท์มิวสิก และเพลงคลาสสิกได้ เช่น Symphonic Suite; Symphonic Poem เป็นที่พอพระราชหฤทัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวเป็นมากนัก

จึงโปรดเกล้าฯ ให้เปิดการแสดง Symphonic Concert สำหรับประชาชนขึ้น ณ โรงละครหลวงสวนมิสกวันและที่ศาลาสหทัย สถานกาแฟนรสิงห์ เป็นประจำทุกสัปดาห์ จนหนังสือพิมพ์ภาษาต่างประเทศเสนอข่าวว่า เป็นวงดนตรีที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออก

หลวงเจนดุริยางค์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระเจนดุริยางค์

เมื่อ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวงก็ถูกโอนย้ายไปสังกัดกรมศิลปากร เรียกชื่อว่า "วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร"

วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง หรือ วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากรนี้ เป็นแหล่งกำเนิดนัดนตรีสากลเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งต่อมากลายเป็นครูเพลงผู้แต่งทำนองคำร้อง เป็นหัวหน้าวงดนตรี เป็นนักดนตรีที่สืบสาน และวิวัฒนาการทางดนตรีสืบต่อกันเรื่อยมา อาทิเช่น ครูนารถ ถาวรบุตร ผู้ควบคุมวงดนตรี

Etude (เอ - ทู้ด)

Etude เป็นคำในภาษาฝรั่งเศสมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสโบราณคือ Estudie ตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษคือ Study ความหมายคือ
1. เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อพัฒนาเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งโดยเฉพาะ
2. เป็นเพลงที่เน้นเทคนิคใดเทคนิคหนึ่ง ที่นิยมนำมาบรรเลงเพราะความไพเราะของมัน
3. บทเพลงสั้นๆ โดยปกติแล้วจะเขียนขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาด้านดนตรี
4. บทเพลงสั้นๆ ที่แต่งสำหรับงานบรรเลงเดี่ยว เพื่อใช้เป็นแบบฝึกหัดสำหรับฝึกทักษะและความชำนาญ
5. บทเพลงบทสั้นๆ โดยปกติแล้วจะแต่งสำหรับเปียโน นิยมใช้เพื่อสอนนักดนตรีในเทคนิคที่มักจะมีปัญหาในการเล่น เช่น สเกล (Scale) หรือการรัว (Trill) บทประพันธ์แบบ Etude เกิดขึ้นหลังการประพันธ์แบบ Toccata ได้รับความนิยมมากในยุคบาโร้ค Etude ได้รับการพัฒนารูปแบบโดยคีตกวีคนสำคัญคือ Frederic Chopin และ Franz Liszt

Franz Schubert: String Quartet No. 14 in D minor

ผลงาน String Quartet No. 14 in D minor เขียนขึ้นในปี 1824 โดย Franz Schubert หลังจากที่เขารู้ตัวว่าเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพ เพลงนี้เป็นที่รู้จักกันดีในอีกชื่อหนึ่งคือ “The Death and the Maiden Quartet” เพราะในกระบวนที่สองดัดแปลงมาจากทำนองเปียโนประกอบเพลง (Song หรือ Lied) ที่เขาแต่งขึ้นในปี 1817 ซึ่งเพลงนั้นมีชื่อว่า Death and the Maiden ในผลงานเพลงควอเต็ทจำนวนมากที่เขาแต่งขึ้น เพลงนี้คือ String Quartet No.14 และจัดอยู่ในลำดับ D. 810 ตามระบบของ Erich Deutsch ที่จัดเรียบเรียงหมวดหมู่เพลงของ Schubert ผลงานชิ้นนี้คือ String Quartet ที่แบ่งออกเป็นสี่กระบวน

Allegro, in D minor ในอัตราจังหวะปกติ
Andante con moto, in G minor อยู่ในอัตราจังหวะ 2/2
Scherzo: Allegro molto, in D minor อยู่ในอัตราจังหวะ 3/4
Presto, in D minor อยู่ในอัตราจังหวะ 6/8

ใน กระบวนแรกของเพลง รวมทั้ง String Quartet ที่แต่งขึ้นก่อนหน้า (String Quartet No. 13 in A minor, D 804) และแต่งขึ้นถัดจากเพลงนี้ (String Quartet No. 15 in G, Op. 161, D 887) และ String quintet (String Quintet in C, D 956) ของเขา ถือเป็นผลงาน Chamber music ที่มีความยาวและรายละเอียดมากที่สุดในบรรดา String Quartet ที่เขาแต่งขึ้นทั้งหมด แม้ว่าจะแค่บางส่วนของเพลงก็ตาม เเพลงนี้อยู่ในฉันทลักษณ์แบบ Sonata form ที่ประพันธ์ขึ้นใน 3 บันไดเสียงหลักคือ D minor, F major และ A minor

กระบวนที่สองคือ ทำนองหลัก (Theme) ดัดแปลงมาจากเพลงที่เกี่ยวกับความาตายของเขาที่ชื่อ Der Tod und das Madchen (D 531 การจัดระบบเพลงของ Schubert ตามแบบเยอรมัน) และทำนองแปรเปลี่ยน 5 ทำนอง และท่อนจบของกระบวน (Coda)

ทำนองหลัก ของกระบวนที่สามสามารถได้ยินผ่านทำนองชุดเพลงเต้นรำของเปียโน แต่งขึ้นในแบบ Trio ในบันไดเสียง D major และการซ้ำของท่วงทำนองหลัก

ท่วง ทำนองเพลงเต้นรำ Tarantella (ทำนองเพลงเต้นรำพื้นเมืองทางตอนใต้ของอิตาลี โดยปกติจะอยู่ในจังหวะ 6/8, 18/8 หรือ 4/4) ในกระบวนสุดท้ายอยู่ในฉันทลักษณ์แบบ Sonata-rondo ท่วงทำนอง Rondo ที่ปรากฎขึ้นในช่วงแรกจะวนกลับมาในตอนท้าย ส่วนในช่วงกลางเป็นการพัฒนาทำนอง ส่วนท่อนจบของกระบวน (Coda) อยู่ในบันไดเสียงเมเจอร์ที่แสดงถึงชัยชนะและการไขว่คว้า

ในปี 1878 Robert Franz คีตกวีชาวเยอรมันได้ดัดแปลง String Quartet บทนี้เป็น Piano duet และนี่คือหนึ่งในบทประพันธ์ String Quartet คู่กับบทประพันธ์ String Quartet No. 11 in F minor (Quartetto serioso) ของ Beethoven ซึ่ง Mahler นำมาเรียบเรียงใหม่สำหรับวงออร์เคสตร้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีการทวีคูณภาคของเชลโลบางส่วนด้วยดับเบิ้ลเบส

ใน ปี 1930 คีตวกีชาวอังกฤษ John Fouldsได้เรียบเรียงเพลงนี้ขึ้นใหม่สำหรับออร์เคสตร้าต็มวง ในช่วงทศวรรษที่1990 คีตวกีชาวอเมริกัน Andy Stein ได้เรียบเรียงเพลงนี้ขึ้นใหม่ในฉบับ "Symphony in D minor, Death and the Maiden" สำหรับบรรเลงด้วยออร์เคสตร้าเต็มวง นำออกแสดงโดยวง St. Paul Chamber Orchestra, Buffalo Philharmonic รวมทั้งวงอื่นๆ อีกหลายวง ส่วนการบันทึกเสียงเพลงนี้ในฉบับของ Andy Stein ถูกนำมาผลิตออกจำหน่ายโดยบริษัทแผ่นเสียง Naxos Records เมื่อเดือนมีนาคม ปี2009

รายการบล็อกของฉัน