Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)


http://www.youtube-nocookie.com/v/Yn71hIsm0U8?

เทคโนโลยี่ในศตวรรษที่ 19
ยังเป็นสิ่งที่ไม่ก้าวหน้าไปจากเดิมเท่าใดนัก เรามีนาฬิกาที่ทำเพลงได้และกล่องดนตรี (Musical Box) แต่นักฟังทั้งหลายก็ยังต้องออกจากบ้านไปฟังตามสถานที่ต่าง ๆ เช่นห้องบอลรูมในราชสำนัก เป็นต้น จนกระทั่งปี ค.ศ. 1877 เมื่อโธมัส เอดิสัน ค้นพบจานเสียงที่ทำด้วยแผ่นดีบุกทรงกระบอก และพัฒนาจนเป็นแผ่นเสียง (Phonograph) เช่นในปัจจุบัน ทำให้เกิดการปฏิวัติทางดนตรีก็ว่าได้ ดนตรีสามารถฟังที่บ้านได้ ต่อมาเมื่อปลายศตวรรษที่ “ Daid Caruso “ นักร้องเสียงเทนเนอร์ (Tenor) ผู้ยิ่งใหญ่ได้เซ็นสัญญากับบริษัทแผ่นเสียง เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1902 และท่านได้รับเงิน 100 ปอนด์เป็นค่าจ้างในการบันทึกเสียง อีก 20 ปีต่อมาแผ่นเสียงที่ท่านได้กลายเป็นเศรษฐี ฐานะของนักดนตรีเริ่มเปลี่ยนไป นักดนตรี นักร้อง กลายเป็นผู้มีชื่อเสียง และเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก ในปี ค.ศ. 1910 เพลงคลาสสิกเป็นที่นิยมฟังกันทั่วโลก (เริ่มจากการอัดแผ่นเสียง) หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1920 ดนตรีแจ๊สก็เป็นที่นิยมตามมา ด้วยเทคโนโลยีอันก้าวไกลได้ทำให้การดูคอนเสิร์ทเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องยาก อีกต่อไป เสียงดนตรีที่ไพเราะและภาพการ แสดงคอนเสิร์ทสามารถหาดูได้ที่บ้าน ทั้งทาง วิทยุ โทรทัศน์ โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น วีดีโอเทป แผ่นซีดี ดีวีดี เป็นต้น เอดิสันได้นำดนตรีมาสู่บ้าน ดนตรีคลาสสิกที่เคยจำกัดอยู่แต่ในราชสำนักในกรุงเวียนนา บัดนี้ได้แพร่หลายไปทั่วโลก คุณค่าแก่การฟังและอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของมนุษย์ชาติสืบไป

วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra) ในปัจจุบันซึ่งวิวัฒนาการมาจากศตวรรษที่ 18 มีลักษณะโครงสร้างทั่ว ๆไปดังแผนภาพดังนี้

1. วาทยากรผู้ควบคุมวง (Conductor) ผู้กำกับวงดนตรีออร์เคสตร้าหรือวงนักร้องหมู่ ซึ่งเป็นผู้ชี้บอกจังหวะและระยะเวลาในการบรรเลงดนตรี

2. ไวโอลินลำดับที่ 1 - First violin (นักไวโอลินที่นั่งใกล้วาทยากรคือหัวหน้าวงดนตรีหรือ Concert Master ตำแหน่งของนักไวโอลินลำดับที่ 1 จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้วาทยากรให้มากที่สุด ตำแหน่งเครื่องเป่าและแตรปกติจะอยู่ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องสาย)

3. ไวโอลินลำดับที่ 2 - Second violin

4. เชลโล่ - Cello

5. วิโอล่า - Viola

6. ดับเบิลเบส - Double bass

7. อิงลิช ฮอร์น - English horn

8. โอโบ - Oboe

9. ฟลูต - Flute

10. เบส คลาริเนต - Bass clarinet

11. คลาริเนต - Clarinet

12. บาสซูน - Bassoon

13. คอนทรา บาสซูน - Contra Bassoon

14. เฟรนช์ฮอร์น - French Horn

15. แซกโซโฟน - Saxophone

17. ทูบา - Tuba

18. ทรอมโบน - Trombone

19. ทรัมเปต - Trumpet

20. เปียโนหรือฮาร์พ Piano, Harp

21. ทิมปานี - Timpani [(ตำแหน่งเครื่องดนตรีที่อยู่ห่างวาทยากรที่สุดคือ กลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทตี - Percussion)

22. ฉาบ - Cymbal

23. เบส ดรัม - Bass Drum

24. ไทรแองเกิ้ล - Triangle

25. กลอง - side หรือ Snare Drum

26. Tubular Bells - ระฆังราว

27.ไซโลโฟน - Xylophone ระนาดฝรั่ง ในบางกรณีที่แสดงเปียโนคอนแชร์โต้ ตำแหน่งของเปียโนจะถูกผลักมาอยู่ข้างหน้า

Chamber music คือดนตรีสำหรับการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี โดยนักดนตรีแต่ละคนจะมีแนวบรรเลงของตนเองต่างจากคนอื่น ๆ ไม่เหมือนกับวงดนตรีสำหรับวงดนตรีออร์เคสตร้า ที่มักจะมีนักดนตรีหลายคนต่อแนวบรรเลงหนึ่งแนว ดนตรีแชมเบอร์มิวสิคนี้ เรียกตามจำนวนคนที่เล่นดังนี้

DUET: สำหรับผู้เล่น 2 คน
TRIO: สำหรับผู้เล่น 3 คน
QUARTET: สำหรับผู้เล่น 4 คน
QUINTET: สำหรับผู้เล่น 5 คน
SEXTET: สำหรับผู้เล่น 6 คน
SEPTET: สำหรับผู้เล่น 7 คน
OCTET: สำหรับผู้เล่น 8 คน
NONET: สำหรับผู้เล่น 9 คน

String Quartet เป็นคีตลักษณ์แบบ Chamber music ที่สำคัญ ประกอบด้วยผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลาและเชลโลอย่างละ 1 คน สำหรับ String trio นั้นจะประกอบด้วยเครื่องสายล้วน ๆ 3 เครื่อง และหากตัดเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งออกไปแล้วเพิ่มเปียโนเข้าไป 1 หลังจะเรียกว่า Piano trio หรือหากเพิ่มฮอร์นเข้าไปแทน เรียกว่า Horn trio เป็นต้น

ศัพท์ดนตรีที่น่ารู้
Accent เน้น

Piano เบา

Pianissimo เบามาก

Pianississimo เบามากและอ่อนโยน

Forte ดัง

Fortissimo ดังมาก

Fortississimo ดังเท่าที่จะทำได้

Forzando เล่นด้วยความแรงแล้วค่อยๆ ผ่อนเบาลง

Sforzando แรงแบบกระแทกแล้วค่อยๆ ผ่อนเบาลง โดยความตั้งใจที่จะแสดงถึงความเชี่ยวชาญในการแสดงดนตรีชิ้นนั้น

Mezzo piano ค่อนข้างจะเบา

Mezzo forte ดังพอสมควร

Rallentando, Ritenuto ค่อย ๆ ผ่อนจังหวะให้ช้าลง

Introduction บทนำของเพลง

Pause เรียกว่า “ศูนย์” หมายถึงจังหวะเสียงยามตามความพอใจ

Coda ลงจบของบทเพลง

Fine จบบทเพลง

Cantata บทดนตรีที่มีการร้องเดี่ยวและหมู่

A tempo กลับไปใช้จังหวะเดิม

Cadenza บทบรรเลงเดี่ยวที่ผู้ประพันธ์เขียนขึ้น

Concerto บทประพันธ์ดนตรีที่แสดงความสามารถของผู้เล่นเครื่องดนตรีเดี่ยวและวง ออร์เคสต้า ซึ่งมีลักษณะของการเล่นรับสลับกันบางครั้งก็เป็นการแสดงเดี่ยวเครื่องดนตรี หลายชิ้น เช่น คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน 2 คัน

Mass ดนตรีที่จัดไว้สำหรับพิธีทางศาสนาโรมันคาทอลิก

Opus ผลงานลำดับที่ เป็นคำมาจากภาษาละตินแปลว่า “ผลงาน” Opus ตามด้วยหมายเลขซึ่งแสดงลำดับผลงานของคีตกวีที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ เช่น Beethoven: in A flat major opus 1 หรือ op. 1 หมายถึงผลงานชิ้นที่ 1 ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ และถ้ามีชิ้นย่อยลงไปอีกก็ใช้ no. หรือ number เช่น opus.40, no. 2 เป็นต้น

Crescendo การเพิ่มจากเสียงเบาไปหาดัง

Diminuendo ทำเสียงลดลงทีละน้อย

Symphony บทประพันธ์ดนตรีลักษณะเดียวกับ sonata ที่ประกอบด้วย 4 ท่อน หรือมากกว่านั้นแต่ใช้วงออร์เคสต้าบรรเลงเต็มวง

Solo เดี่ยว เช่น violin solo หมายถึงการเดี่ยวไวโอลิน

Sonata บทประพันธ์ดนตรีที่ประกอบด้วยหลายท่อนหรือกระบวนที่แตกต่างกัน ซึ่งทั่วไปประกอบด้วย 4 ท่อน ท่อนที่ 1. An allegro มีชีวิตชีวา ท่อนที่ 2. A slow movement เป็นท่อนที่ช้า ท่อนที่ 3. A scherzo มีความรื่นเริงสบาย ๆ ท่อนที่ 4. An allegro มีชีวิตชีวา

ต่อไปนี้ เป็นศัพท์ดนตรีบอกความช้าเร็วของจังหวะ ซึ่งมักจะปรากฎทั่วไปในแผ่นเสียง คำบรรยายเพลงทุกชนิด และต้นฉบับ มีประโยชน์สำหรับบอกแนวทางคร่าว ๆ ให้ทราบถึงบรรยากาศของเพลง

จังหวะทั่ว ๆ ไป แบ่งออกเป็น 3 พวก # ช้า - ปานกลาง - เร็ว

จำพวกช้าแบ่งออกเป็น

Lento ช้ามากที่สุดในจำพวกช้าด้วยกัน

Largo ช้ามากที่สุดเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่า Lento

Larghetto ช้ารองลงมาจาก Largo

Adagio ช้ามาก

Andante ช้าพอประมาณ

Andantino ช้าพอประมาณ แต่เร็วกว่า Andante หรือเร็วที่สุดในจำพวกช้าทั้งหมดนี้

จำพวกปานกลางมีอย่างเดียวคือ

Moderato ปานกลางธรรมดา

จำพวกเร็วแบ่งออกเป็น

Allegretto เร็วพอสมควร

Allegro เร็ว

Vivace เร็วอย่างร่าเริง (เล่นแบบกระตุกๆ)

Presto เร็วมาก

Prestissimo เร็วจี๋

ศัพท์ต่อไปนี้แสดงถึงความรู้สึกของจังหวะทำนอง

Grave อย่างโศกเศร้า

Maestoso อย่างสง่าผ่าเผย องอาจ

Tempo giusto ธรรมดา - ปานกลาง

Agitato อย่างร้อนรนตื่นเต้น

Mosso อย่างว่องไว

Con moto อย่างกระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา

“ …. การจะหาความสำราญจากเพลงดี ๆ สักเพลงหนึ่งนั้น ท่านไม่จำเป็นต้องไปรู้ถึงชีวิตของนักแต่งเพลง หรือรู้เบื้องหลังของการแต่งเพลง หรือวันที่ หรือเลขหมาย โอปุส บันไดเสียง หรือความรู้ททางเทคนิคอื่น ๆ เลย….”

ซิกมัน เสปธ

(บทความจากหนังสือดนตรีคลาสสิก)

รายการบล็อกของฉัน