Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ประวัติและความเป็นมา

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ประวัติและความเป็นมา
ศิลปการ ดนตรีมีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานเช่นเดียวกับงาน สถาปัตยกรรม การดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมไปตามยุคต่างๆตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ในยุคกรีกและโรมัน การดนตรีสอดแทรกอยู่ในงานเฉลิมฉลองต่างๆและกิจการทางศาสนา โดยเริ่มมีการใช้ตัวหนังสือแทนโน้ตดนตรี ในศตวรรษที่ 5 เมื่ออาณาจักรเอมไพร์ล่มสลายลง ทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งยุคมืด (Dark Age) ศิลปะแขนงต่าง ๆ รวมทั้งดนตรีก็เสื่อมลง จนกระทั่งถึงยุคกลาง (Middle Age) อันเป็นช่วงต่อระหว่างยุคมืดและยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) การดนตรีได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีก

ในศตวรรษที่ 6 ผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายดนตรีที่มีความซ้ำซาก ขาดความกลมกลืน อีกทั้งไม่มีเมโลดี้ที่ชัดเจน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในวงการดนตรีขึ้น เริ่มจากการขับร้องที่มีตัวโน้ตพร้อมกัน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการร้องเพลงประสานเสียง

ดนตรีคลาสสิกตะวันตก แบ่งออกเป็นยุคสมัยตามไสตล์และปรัชญาความคิดทางดนตรีที่แตกต่างกันอย่าง ชัดเจน ทั้งนี้แบ่งออกเป็นยุคสมัยต่าง ๆ ดังนี้: ยุคกลาง (Middle Age ค.ศ. 500-1400) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance ค.ศ. 1400-1600) ยุคบาโร้ค (Baroque ค.ศ. 1600-1750) ยุคโรแมนติก (Romantic ค.ศ. 1825-1910) และยุคศตวรรษที่ 20 (Twentieth Century ค.ศ. 1910- ปัจจุบัน)

การ รื้อฟื้นศิลปการดนตรี ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในยุคกลางนี้เอง แต่เครื่องดนตรีต่าง ๆ ก็ยังพัฒนาไปไม่ถึงขั้นเป็นดนตรีออร์เคสตร้า เนื่องจากเครื่องดนตรีสมัยนั้นยังล้าสมัยอยู่มากเช่นทรัมเปตไม่มีลิ้น เครื่องเป่ายังมีเสียงไม่ครบ เครื่องสีวีโอลยังมีจุดอ่อนในเรื่องโทนเสียง เป็นต้น ซึ่งได้ใช้เวลาในการพัฒนามาจนถึงศตวรรษที่ 17 เครื่องดนตรีในยุคนั้นได้แก่ ลูท (Lute) ฮาร์พ (Harp) ไพพ์ (Pipe) โอโบ (Oboe) ซึ่งเราจะพบว่าเป็นเครื่องดนตรีของพวกมินเสตร็ล (Minstrel) และทรอบาดอร์ (Trobadour) ที่ใช้ประกอบการขับร้อง และเดินทางท่องเที่ยวไปยังปราสาทต่าง ๆ วิวัฒนาการของดนตรีพวกมินสเตร็ลได้พัฒนาการไปจนสิ้นสุดยุคกลาง และบางเพลงก็ยังมีปราฎอยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ศตวรรษที่ 15 การดนตรีได้เริ่มเบ่งบานขึ้นด้วยการทำงานอย่างหนักของนักดนตรี 3 ท่านคือ พาเลสตริน่า (Giovanni Palestrina 1525-1594) ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งดนตรีสมัยใหม่ (The Father of Modern Music) ลาสซุส (Orland Lassus) และไบร์ด (William Byrd) ท่านทั้ง 3 นี้เป็นผู้เปิดประตูของศิลปการดนตรีจากยุคกลางไปสู่ยุคเรอเนสซองส์ อันเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการทุกแขนง ในยุคนี้งานดนตรีเริ่มมีกฎเกณฑ์ในงานประพันธ์บทเพลงมากขึ้นรวมทั้งเพลงร้อง ในโบสถ์จำนวนนับร้อยและมอตเต็ตอีกจำนวน 600 เพลงซึ่งทำให้ท่านได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งดนตรีสมัยใหม่

อุปรากร หรือ (Opera) ได้ถือกำเนิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 ณ เมืองฟลอเรนซ์ (Florence หรือ Firence) ประเทศอิตาลี และได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดที่กรุงเวียนนา (Vienna)ประเทศออสเตรียโดยคีตกวีกลุ๊ค (Gluck) และโมสาร์ท (Wolfgang Amadeus MoZart) ในปลายศตวรรษที่ 18 และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุปรากรได้รับการพัฒนาต่อมาอีกอย่างรุ่งเรืองโดยคีตกวีที่มีชื่อเสียงได้แก่ เบลลีนี่ (Belini) โดนีเซตติ (donizetti) รอสซินี่ (Rossini)แวร์ดี้ (Verdi) ปุชชินี่ (Puccini) เป็นต้น

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 17 และต่อเนื่องมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 18 โดยมีศิลปินอิตาเลี่ยนเป็นผู้นำ ท่านเหล่านี้ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดนตรีให้เข้าสู่ชีวิตจิตใจชาวยุโรป อย่างแพร่หลาย ซึ่งมีเมืองที่เป็นแหล่งกำเนิดของงานดนตรีนี้ได้แก่ โรม เนเปิล ฟลอเรนซ์ อิทธิพลงานศิลปะการดนตรีของอิตาลีได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางสู่ยุโรปตะวัน ตก ส่วนทางซีกตะวันออกนั้นกรุงเวียนนาเป็นศูนย์รวมที่สำคัญทางดนตรี โดยมีนักดนตรีชาวอิตาเลี่ยนที่สำคัญได้แก่ ซิมาโรซ่า เพสซิชิลโล กัลลูปปี้ ซึ่งเดินทางเข้าไปทำงานที่นครเวียนนา เวียนนาจึงเป็นศูนย์กลางของดนตรีคลาสสิกและมีความรุ่งเรืองติดต่อกันมาถึง 200 ปี ดนตรีคลาสสิกจัดได้ว่าเป็นศิลปะการดนตรีแห่งยุคที่ดนตรีได้รับการพัฒนามาถึง จุดสูงสุดทั้งการประพันธ์และเครื่องดนตรี อาทิ ออร์แกน เปียโน และเครื่องดนตรีของตระกูลไวโอลิน เป็นต้น อันเป็นผลมาจากการการฟื้นฟูศิลปะการดนตรีจากยุคเรอเนสซองส์

  ภาพวาดนักดนตรี(Minstrel)
ยุคคลาสสิก นักดนตรีและคีตกวีที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงหลายท่านได้หลั่งไหลเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานในกรุงเวียนนา อาทิเช่น กลุ๊ค (Gluck) ไฮเดิ้น (Haydn) โมสาร์ท (Mozart) บีโธเฟ่น (Beethoven) ชูเบิร์ท (Schubert) บราหมส์ (Brahms) สเตราส์ (Struass) บรู๊คเนอร์ ( Bruckner) วูล์ฟ (Wolf ) มาห์เลอร์ (Mahler) เชินเบอร์ก(Shoenberg) เวเบิร์น (Webern) เป็นต้น ศิลปินเหล่านี้เป็นผู้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การดนตรีในยุคคลาสสิกเป็น อย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้วกรุงเวียนนายังเป็นศูนย์รวมของศิลปินท่านอื่นๆ อีกมากมายจนแทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีนครใดในโลกที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอัจฉริยะทาง ดนตรีเช่นนครแห่งนี้อีกแล้ว ในยุคนี้การดนตรีได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของชาวยุโรป นักดนตรีและคีตกวีได้รับการสนับสนุนและชุบเลี้ยงจากราชสำนัก ศิลปะการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงส่ง และมรดกที่ที่ได้รับสืบทอดมาจากยุคนี้คือ ซิมโฟนี (Symphony) ซึ่งเป็นดนตรีที่คีตกวีประพันธ์ขึ้นมาอย่างมีกฎเกณฑ์และแบบแผนเช่นเดียวกับ ดนตรีอุปรากร (Opera)และโซนาต้า (Sonata) โซนาต้าและซิมโฟนี่แห่งยุคคลาสสิก

โซนาต้าในยุคนี้ได้ถูกนำมาดัด แปลงให้มีความหมายแตกต่างออกไปจากศตวรรษที่แล้ว โดยหมายถึงการบรรเลงเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวหรือสองชิ้น เช่น Sonata for Violin หมายถึงการบรรเลงเดี่ยวไวโอลิน Piano Sonata หมายถึงการบรรเลงเดี่ยวเปียโน หรือ Sonata for String Quartet หมายถึง การบรรเลงด้วยเครื่องสาย 4 ชิ้น เป็นต้น แต่โครงสร้างของบทเพลงโซนาต้าหรือ นั้นเป็นแบบอย่างเดียวกับบทเพลงซิมโฟนี่ดังนี้คือ บทเพลงซิมโฟนี่ประกอบด้วย 4 ท่อนหรือ Movement แต่บางครั้งอาจมีความยาวกว่า 4 ท่อนก็ได้

โดยทั่วไปนั้น ท่อนที่ 1(First Movement) เป็นบทนำของเพลงมักมีความยาวมากที่สุด อาจมีลีลาที่ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ ท่อนที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนา ธีม (Theme) หรือเนื้อหาหลักของเพลงจากท่อนแรก ท่อนที่ 3 (Third Movement) เป็นลีลาที่ไพเราะผ่อนคลายหรรษาไปตามบทเพลงที่เรียกว่า มินูเอ็ท (Minuet) ท่อนที่ 4 (Fourth Movement) มักจะมีท่วงทำนองที่เร็วและมีสาระของเพลงน้อยกว่าท่อนอื่น บางครั้งก็จะเป็นลีลาที่ผันแปรมาจากท่วงทำนองหลักหรือ ธีม ของเพลงเป็นต้น ซิมโฟนีเป็นบทประพันธ์ดนตรีที่มีความไพเราะและยิ่งใหญ่ สามารถใช้ทดสอบความสามารถและความคิดริเริ่มของคีตกวีแต่ละท่านได้เป็นอย่าง ดี ดนตรีแห่งยุคคลาสสิกมีความรุ่งเรืองสูงส่ง ซึ่งเราจะสังเกตได้จากวงดนตรีออร์เคสตร้าที่มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยเครื่องดนตรีกว่า 100 ชิ้นและวาทยกร (Conductor) 1 คน การจัดจำแหน่งของเครื่องดนตรีต่าง ๆ และนักดนตรีขึ้นอยู่กับวาทยากรแต่ละท่าน วงซิมโฟนีได้ถือกำเนิดครั้งแรกในยุคคลาสสิกนี้เอง และได้รับการพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

Frederic Chopin (1810-1849)
ด้วยความรุ่งเรืองทาง ดนตรีแห่งยุคนี้ จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่า เหตุใดดนตรีคลาสสิกจึงยังคงเป็นที่นิยมอยู่จนทุกวันนี้ จนเรียกได้ว่าเป็นดนตรีอมตะ หาดแต่วิวัฒนาการศิลปะการดนตรีมิได้หยุดอยู่เพียงนี้ ศิลปินได้พยายามแสวงหาแนวทางของศิลปะใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ดนตรีก็เช่นกัน จากยุค คลาสสิก ต่อมาจนถึง โรแมนติก (Romantic) ซึ่งการดนตรียังไม่มีแนวทางต่างกันมากนัก นักดนตรีในยุคโรแมนติกที่มีชื่อเสียง 4 ท่านได้แก่ เมนเดลโซน (Felix Mendelsohn) โชแปง (Federic Chopin) ชูมานน์ (Robert Schumann) ลิซท์ ( Franz Liszt)

ยุคโรแมนติก ได้เริ่มขึ้นเมื่อแนวทางดนตรีเริ่มละทิ้งแบบแผนของคลาสสิก นับจากบทประพันธ์อันยิ่งใหญ่ เช่น “Spring Sonata “ ของโมสาร์ท ดนตรีแห่งยุคโรแมนติกได้หันเหแนวของดนตรีมาสู่แนวทางแห่ง ดนตรีชาตินิยม (Nationalism) โดยใช้เสียงดนตรีแบบพื้นเมือง นอกจากนี้แล้วอิทธิพลทางการเมืองมีส่วนทำให้การดนตรีหันเหไป นับแต่การปฏิวัติในฝรั่งเศส การปฏิวัติในอเมริกา สงครามนโปเลียน เป็นต้น บทเพลง “ The Polonaise “ ของโชแปงก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่งในแบบอย่างของดนตรีแนว Nationalism นอกจากนี้แล้วในยุคโรแมนติกก็ยังเป็นช่วงเวลาก่อกำเนิดคีตกวีและนักดนตรีอีก หลายท่าน อาทิเช่น ปากานินี่ (Nicolo Paganini) ว้ากเนอร์
(Richard Wagner) แวร์ดี้ (Giusseppe Verdi) นอกจากนี้ประเทศรัสเซียก็ยังมีคีตกวีเอกอีกหลายท่านเช่น ไชคอฟสกี้ (Tchaikovsky) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นราชาแห่งบัลเลต์ รวมถึงผลงานอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อุปรากร 10 เรื่อง ซิมโฟนี่ 6 บท บัลเลต์ 3 เรื่อง ที่รู้จักกันดี ได้แก่ Nutcracker, Swan Lake, Sleeping Beauty และบทเพลงที่มีชื่อเสียงมากอีกบทคือ 1812 Overture ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 ก็มีอัจฉริยะทางดนตรีอีก 3 ท่านคือ บราหมส์ มาห์เลอร์ และบรู๊คเนอร์ ซึ่งล้วนอยู่ในแนวทางแห่ง Nationalism ทั้งสิ้น

รายการบล็อกของฉัน