ระนาดเอก
ระนาด เป็นเครื่องตีชนิกหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ว่ามีวิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมก็คงใช้ไม้กรับ ๒ อันตีเป็นจังหวะแล้วต่อมาเกิดความรู้เอาไม้มาทำอย่างกรับหลายๆอัน วางเรียงตีให้เกิดเสียงหยาบๆขึ้นก่อนแล้วคิดทำไม้ รองรับเป็นรางวางเรียงราดไป เม่อเกิดความรู้ความชำนาญขึ้นก็แก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน และทำรางรองให้อุ้มเสียงได้แล้วใช้เชือกร้อย "ไม้กรับ" ขนาดต่างๆนั้นให้ขึงติดอยู่บนราง ใช้ไม้ตีเกิดเสียงลดลั่นกันตามต้องการ ใช้เป็นเครื่องบรรเลงเพลงได้แล้วต่อมาก็ประดิษฐ์แก้ไขตัดแต่งใช้ตะกั่วกับ ขี้ผึ้งผสมกันติดหัวท้ายของไม้กรับถ่วงเสียงให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น จึงบัญญัติชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า "ระนาด"เรียก"ไม้กรับ" ที่ประดิษฐ์ขนาดต่างๆนั้นว่า "ลูกระนาด" และเรียกลูกระนาดที่ร้อยเชือกเข้าไว้เป็นแผ่นเดียวกันว่า"ผืน" นิยมใช้ไม้ไผ่บงมาทำเพราะว่าได้เสียงดี ทำรางเพื่อให้อุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ทางหัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า "ราง(ระนาด)" เรียกแผ่นปิดหัวและท้ายรางระนาดว่า "โขน" และเรียกรวมทั้งรางและผืนรวมกันเป็นลักษณะนามว่า "ราง" แต่เดิมมา ดนตรีวงหนึ่ง ก็มีระนาดเพียงรางเดียว และระนาดแต่เดิมคงมีจำนวนลูกระนาดน้อยกว่าในปัจจุบันนี้ ต่อมาได้เพิ่มลูกระนาดมากขึ้น และเมื่อมาคิดประดิษฐ์ระนาดอีกชนิดหนึ่งให้มีเสียงทุ้ม ฟังนุ่มไม่แกร่งกร้าวเหมือนชนิดก่อน จึงเลยเรียกระนาดอย่างใหม่นั้นว่า "ระนาดทุ้ม" และเรียกระนาดอย่างเก่าว่า "ระนาดเอก" เป็นคำผสมขึ้นในภาษาไทย ระนาดเอกปัจจุบันมีจำนวน ๒๑ ลูก ลูกต้น ขนาดยาวราว ๓๙ ซม. กว้างราว ๕ ซม. และหนา ๑.๕ ซม. ลูกต่อมาก็ลดหลั่นกันลงไปจนลูกที่ ๒๑ หรือลูกยอด มีขนาดยาว ๒๙ ซม. ลูกระนาดเหล่านั้นร้อยเชือกแขวนบนรางและรางนั้นวัดจาก "โขน" อีกข้างหนึ่ง ประมาณ ๑๒๐ ซม. มีเท้ารองรางตรงส่วนโค้งตอนกลางเป็นเท้าเดี่ยว รูปอย่างพานแว่นฟ้า เครื่องดนตรีชนิดนี้ ปรากฏมีทั้งของชวา ของมอญ และของพม่า ซึ่งพม่าเรียกว่า ปัตตลาร์ (Pattalar หรือBastran) การ ที่ได้ประดิษฐ์ให้วิวัฒนาการขึ้นนั้นจะเป็นความคิดของไทย หรือได้อย่างมาจากชาติเพื่อนบ้าน หรือชาติเพื่อนบ้านเอาอย่างไป ก็ยังไม่มีหลักฐานจะลงความเห็นได้ แต่คำว่า "ระนาด" นั้นเป็นคำไทยแผลงหรือยืดเสียงมาจากคำว่า "ราด" เช่นเดียวกับคำว่าเรียด แผลงเป็น ระเนียด, ราว เป็น ระนาว, ราบ เป็นระนาบ และราด ก็เป็น ระนาด ยังมีคำพูดกันมาจนติดปากว่า "ปี่พาทย์ ราด ตะโพน" แสดงว่าแต่ก่อนคำนี้ยังมิได้ยืดเสียง และถ้าจะยืดเสียง หรือแผลงตามวิธีข้างบนก็อาจพูดได้ว่า "ปี่พาทย์ระนาด ตะโพน" คำว่า "ราด" ก็หมายความว่าวางเรียงแผ่ออกไป ทำให้กระจายออกไป กล่าวคือ กิริยาที่เอาไม้กรับ หรือ "ลูกระนาด" มาวางเรียงตามขนาดต่างๆลดหลั่นกันไปเช่นเดียวกับที่เอาไม้ท่อนมาวางเรียง ขวางเป็นทางเดินในที่ลุ่มหรือที่หล่มก็เรียกว่า ระนาด และไม้ไผ่ที่ถักอย่างเรือกสำหรับรองท้องเรือก่อน แล้วนำมาใช้เรียกเครื่องดนตรีต่อภายหลังหรือจะบัญญัติขึ้นใช้เรียกเครื่อง ดนตรีก่อน แล้วจึงนำไปใช้เรียกไม้ท่อนเรียงขวางและไม้เรือกรองท้องเรือต่อภายหลัง เป็นเรื่องที่ยังไม่พบข้อตกลงของนักปราชญ์ทางภาษา
ระนาดเอกทุ้ม
ระนาด ทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่คิดสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์เลียนแบบ ระนาดเอก แต่ลูกระนาดก็คงทำด้วยไม้ชนิดเดียวกับระนาดเอก เป็นแต่เหลาลูกระนาด ให้มีขนาด กว้างและยาวกว่าลูกระนาดเอก และประดิษฐ์รางให้มีรูปร่างต่างจากราง ระนาด คือมีรูปคล้ายหีบไม้ แต่เว้ากลางเป็นทางโค้งมี"โขน"ปิดทางด้านหัวและด้านท้าย วัดจากปลายโขนทางหนึ่งไปยังอีกทางหนึ่งยาวประมาณ ๑๒๔ ซม. ปากรางกว้างประมาณ ๒๒ ซม. มีเท้าเตี้ยๆรอง ๔ มุมราง บางทีเท้าทั้ง ๔ นั้นทำเป็น ลูกล้อติดให้เคลื่อนย้ายได้ง่าย ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน ๑๗ ลูก หรือ๑๘ ลูก ลูกต้นยาวประมาณ ๔๒ ซม. กว้าง ๖ ซม.ลูกต่อมาก็ลดหลั่นลงนิดหน่อย และลูกยอดมีขนาดยาว๓๔ ซม. กว้าง๕ ซม. ไม้ตีก็ประดิษฐ์แตกต่างออกไปด้วย เพื่อต้องการให้มีเสียงทุ้มเป็นคนละเสียงกับระนาดเอก จึงเลยบัญญัติชื่อเป็น ระนาดชนิดนี้ว่า "ระนาดทุ้ม"
ระนาดเอกเหล็ก
ความ จริง ระนาดทอง หรือระนาดเหล็ก เป็นเครื่องโลหะ ควรจะนำไปกล่าวในหมวดโลหะ แต่เพราะเป็นเครื่องตีที่ประดิษฐ์สร้างขึ้นโดยเลียนแบบเครื่องไม้และใช้ใน ลักษณะเดียวกัน จึงนำมากล่าวรวมไว้เสียในหมวดเดียวกัน ระนาดทอง หรือระนาดเอกเหล็กนี้ มีตำนานว่า คณาจารย์ทางดุริยางค์ศิลปคิดประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ลูกระนาดแต่เดิมทำด้วยทองเหลืองจึงเรียกกันมาว่า ระนาดทอง ต่อมามีผู้ทำลูกระนาดด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอก จึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทองและระนาดเหล็ก ใช้วางเรียงบนรางไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวางพาดไปตามขอบรางสำหรับรองหัวท้ายลูกระนาดแทนร้อยเชือกผูก แขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ คงจะเนื่องจากมีน้ำหนักมาก เกรงว่าถ้าร้อยเชือกแขวน กำลังโขน๒ ข้างจะทานน้ำหนักไม่อยู่ แต่เดิมทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันมาว่า ระนาดทอง ต่อมามีผู้ทำลูกระนาดด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอก จึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทองและระนาดเหล็ก ใช้วางเรียงบนไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวางพาดไปตามขอบรางสำหรับรองหัวท้ายลูกระนาดแทนร้อยเชือกผูก แขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ คงจะเนื่องจากมีน้ำหนักมาก เกรงว่าถ้าร้อยเชือกแขวน กำลังโขน ๒ ข้างจะทานน้ำหนักไม่อยู่ ระนาด ๒ ชนิดนี้ ทั้งที่ทำลูกด้วยทองเหลืองและเหล็ก มีจำนวน ๒๐ หรือ ๒๑ ลูก ลูกต้นยาวประมาณ ๒๓.๕ ซม. ลูกยอดยาวประมาณ ๑๙ ซม. และกว้างประมาณ ๔ ซม. ลูกต้นๆขูดโลหะตอนกลางด้านล่างจนบาง เพื่อให้ได้ระดับเสียงที่ต้องการ แต่ลูกใกล้ๆลูกยอด ตลอดจนลูกยอดคงโลหะไว้จนหนากว่า ๑ ซม. รางไม้ที่ใช้วางลูกระนาดนั้น ทำเป็นรูปหีบสี่เหลี่ยมแต่ยาวประมาณ ๑ เมตร ปากรางแคบกว่าส่วนยาวของลูกระนาด คือกว้างประมาณ ๑๘ ซม. เบื้องล่างของรางทำเท้ารอง ๔ เท้าติดลูกล้อเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย
ระนาดทุ้มเหล็ก
ระนาด ทุ้มเหล็ก เป็นเครื่องตีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระอนุชาธิราชใน รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพระราชดำริให้สร้างเพิ่มเติมอีกแบบหนึ่งโดย "ถ่าย ทอดมาจากหีบเพลงฝรั่งอย่างเป็นเครื่องเขี่ยหวีเหล็ก" ลูกระนาดคงทำอย่างเดียวกับระนาดทองแต่ทำเขื่องกว่าระนาดทองหรือระนาดเอก เหล็ก เพื่อเป็นเสียงทุ้มลียนอย่างระนาดทุ้ม มีจำนวน ๑๖ หรือ ๑๗ ลูก ลูกต้นยาวประมาณ ๓๕ซม. กว้างประมาณ ๖ ซม. ลูกอื่นก็ย่อมลงไปตามลำดับ จนถึงลูกยอด ยาวประมาณ ๒๙ ซม. กว้างประมาณ ๕.๕ ซม. ตัวรางระนาดยาวประมาณ ๑ เมตร ากกว้างประมาณ ๒๐ ซม. มีชานยื่นออกไปทั้ง ๒ ข้างรางถ้านับส่วนกว้างรวมทั้งชาน ๒ ข้างด้วย ก็ประมาณ ๓๖ ซม. มีเท้ารองติดลูกล้อ ๔ เท้า ตัวรางสูงจากพื้นถึงขอบบน (รวมทั้งเท้าด้วย) สูง ๒๖ ซม. เมื่อเกิดมีระนาดเหล็กขึ้น ๒ ชนิดเช่นนี้ จึงเลยเรียกระนาดเหล็กขนาดเล็กว่า ระนาดเอกเหล็ก และเรียกระนาดเหล็กขนาดเขื่องว่า ระนาดทุ้มเหล็กแต่ก็เป็นเสียงเอกเสียงทุ้มตามลูกระนาดที่ทำด้วยโลหะ มิใช่เสียงเอกเสียงทุ้มอย่างลูกระนาดไม้ แล้วกลับไปเรียกระนาดไม้ ๒ ชนิด ที่กล่าวมาข้างต้น (๔ และ ๕) ว่าระนาดเอกไม้ และระนาดทุ้มไม้ระนาดทุกชนิดใช้ไม้ตี ๒ อัน ตี ๒ มือ ถือมือละอัน ตอนมือถือ เหลาเล็ก ถ้าเป็นไม้ตีระนาดเอก ทำเป็น ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งทำแข็ง ตีดังเกรียวกราวเมื่อเข้าผสมวง เรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งคิดทำกันขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๕ ทำให้ยุ่นอ่อนนุ่ม ตีเสียงนุ่ม เมื่อผสมวงเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้นวม" ถ้าเป็น "ไม้แข็ง" ตอนปลายที่ใช้ตีพอกด้วยผ้าชุบน้ำรักถ้าเป็น "ไม้นวม" ก็พันผ้าแล้วถักด้ายสลับจนนุ่ม ส่วนไม้ตีระนาดทุ้ม ตอนปลายทีใช้ตี ก็พันผ้าพอกให้โตและอ่อน เพื่อตีให้เกิดเสียงทุ้มแต่ไม้ตีระนาดเหล็กนั้น ตอนที่ใช้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบ ตัดเป็นวงกลม เจาะรูกลาง แล้วเอาไม้เป็นด้ามสำหรับมือถือ ปักลงในรูกลางแผ่นหนังนั้น ใช้สำหรับมือถือตี ถ้าเป็นไม้ตีระนาดทองเหลืองหรือระนาดเอกเหล็ก วงแผ่นหนังก็เล็ก แต่ถ้าเป็นไม้ตีระนาดทุ้มเหล็ก วงแผ่นหนังและด้ามถือก็เขื่องหน่อย ไม้ตีระนาดทุ้มเหล็กนี้ทำอย่างเดียวกับไม้ตีฆ้องวง ซึ่งจะกล่าวต่อไป