Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ดนตรีการเมือง (Music in Politics)


www.youtube.com/v/pyaBjNQJ5is?
มนต์การเมืองขับร้องโดย - คำรณ สัมบุญนานนท์
ตัวอย่างเพลงเกี่ยวกับการเมือง

ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยมีมิติของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมที่น่าสนใจ

และสามารถมองเห็นภาพของบริบทด้านต่าง ๆ ที่สะท้อนภาพของสังคมไทยในมุมมองที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นยุคของประวัติศาสตร์ไทยจากสยามเก่า แนวทางในการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองไทย ยุคสยามใหม่และการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ.๒๔๓๕ ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ยุคการพัฒนาเศรษฐกิจและยุคสมัยอเมริกันในไทยระหว่างทศวรรษ ๒๕๐๐ และ ๒๕๑๐ ยุคขบวนการนักศึกษาเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ ตลอดจนการเมืองการปกครองในยุคปัจจุบัน เป็นต้น จากการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นในระบบการเมืองการปกครองของไทยในแต่ละช่วงเวลา นั้นการสะท้อนภาพของวิถีความเป็นอยู่ของสังคมในแต่ละยุคจะมีสภาพที่แตกต่าง กันไปไม่ว่าจะเป็นภาพสะท้อนของสังคมการเมือง ภาพสะท้อนของสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชาติ ตลอดจนภาพสะท้อนของอารยธรรมของโลกตะวันตกที่เข้ามาครอบงำในระบบสังคมในทุก ๆ ระดับ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นผลสะท้อนของการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของสังคม ดั้งเดิม การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของสังคมประเทศ และการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดต่อสังคมโลกเป็นต้น ดังนั้นระบบการเมืองการปกครองมีผลต่อสภาพวิถีชีวิตของคนในชาติโดยตรงที่ไม่ สามารถหลีกเลี่ยงได้ ในแต่ละยุคสมัยของการเมืองการปกครองของประเทศไทยพยายามที่จะดำเนินแนวทางใน การพัฒนาชาติเพื่อความอยู่รอด และความสงบสุขอยู่ดีกินดี ตลอดจนสามารถดำรงอยู่ในสังคมโลกได้อย่างสมภาคภูมิ

นโยบายชาตินิยม (Nationalism) เป็นวิธีการหนึ่งที่สะท้อนภาพของการสร้างชาติให้คนในชาติมีความสำนึกการเป็น ส่วนหนึ่งของชาติ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นในการเกิดความร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อชาติของตน และทุกคนในชาติต้องมีส่วนร่วมให้ความตระหนักในสิ่งที่เกิดขึ้น

ดนตรีการเมือง (Music in Politics) ที่เกิดขึ้นในยุคชาตินิยมไทย พ.ศ.๒๔๘๑ ถึง ๒๔๘๗ เป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตและสังคมไทยในทุก ๆ ด้าน บทเพลงก็เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้คนในชาติมีจิตสำนึกในการร่วมกันสร้าง ชาติ โดยสนองต่อนโยบายด้านต่าง ๆ ของรัฐในยุคสมัยนั้น

เช่นสะท้อนจากรัฐนิยม ๑๒ ฉบับ ในการปกครองสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นต้น ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวได้แพร่กระจายไปยังองค์กรและบุคคลต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ ส่งผ่านไปยังแนวคิดต่าง ๆ ผ่านบทเพลงไปยังวิถีชีวิตในทุกระดับของคนในประเทศได้อย่างผสมกลมกลืน

ดังนั้นการศึกษาดนตรีการเมืองในยุคสมัยชาตินิยมไทย จะทำให้ทราบถึงคุณค่าของบทเพลงที่สามารถเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก และความสำนึกร่วมของคนในชาติได้อย่างชัดเจน รวมทั้งทราบถึงภาพเชิงซ้อนทางมิติทางสังคมที่สะท้อนมาในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อทำให้เข้าใจสังคมไทยมากขึ้น ตลอดจนการนำบทเพลงการเมืองที่อยู่ในยุคสมัยชาตินิยมที่เกิดขึ้นในอดีตไป ประยุกต์ใช้กับสังคมปัจจุบันหรือสังคมอนาคตอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติต่อไป

ลัทธิชาตินิยมในประเทศไทย
ลัทธิชาตินิยมเป็นพลังสำคัญอันหนึ่งที่เป็นแนวคิดในเรื่องของชาติที่เป็นลักษณะอุดมคติ

สมัยใหม่ ซึ่งได้มีการแพร่หลายครั้งแรกในสมัยการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.๑๗๘๙ โดยนักปฏิวัติในยุคนั้นให้แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องชาติในการที่จะต่อต้านและ ทำลายระบบสังคมแบบเก่าของประเทศในยุโรปจนกลายเป็นพลังในการตื่นตัวในความ รู้สึกแนวคิดที่เป็นชาตินิยมขึ้นมา แนวคิดชาตินิยมได้แพร่กระจายไปสู่ประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วรวมทั้งการแพร่กระจายมายังประเทศในแถบเอเซียอาคเนย์ (South East Asia) ซึ่งประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวที่ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของตะวันตก ก็ได้รับอิทธิพลการนำเอาแนวคิดทางลัทธิชาตินิยมมาร่วมมือกันในการผนึกกำลัง ในการต่อต้านอาณานิคมเพื่อเรียกร้องเอกราชของประเทศ

ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ที่คงความป็นเอกราช อยู่ได้ตลอดมา ดังนั้นลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงมีลักษณะที่แตกต่างกับลัทธิ ชาตินิยมในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งลัทธิชาตินิยมในประเทศไทยนั้น ผู้ปกครองประเทศหรือรัฐบาลเป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นโดยการนำมาเผยแพร่ ทั้งนี้เพราะต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน ในอันที่จะต่อต้านอิทธิพลอย่างใดอย่างหนึ่งที่มาคุกคามความมั่นคงของ ประเทศ(จุลลา งอนรถ,๒๕๑๓:ก)

คำว่า ชาติ หมายถึง การเกิด การเป็นขึ้นมา การเอากำเนิดใหม่ พวก ตระกูล ครัว เหล่า
กำเนิด หมู่และประเทศ ฉะนั้นเมื่อพิจารณาความหมายตามนัยทางการเมืองแล้ว จะเน้นหนักไปในรูปของบุคคล หรือประชาชนตามลักษณะเชื้อชาติ สัญชาติ และวัฒนธรรม กล่าวคือ หมายถึงกลุ่มคนที่มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อภาระหน้าที่ใน ลักษณะที่เหมือนกัน มีความจงรักภักดีร่วมกัน ดังนั้นคำว่า ชาติ จึงมีความสัมพันธ์กับคำว่า เชื้อชาติ เป็นการกล่าวถึงส่วนรวมของมนุษย์ที่มีเชื้อชาติเดียวกัน ร่วมโชคชะตากัน (วิจิตร วาทการ,หลวง,๒๕๐๕:๒๕๗) เช่นเกิดขึ้นในภูมิภาคเดียวกัน มีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในหน่วยงานปกครองของรัฐบาลเดียวกัน ในปัจจุบันนี้มีความหมายตรงกับคำว่ารัฐหรือพลเมืองของรัฐ

สำหรับประเทศไทยคำว่า ชาติ เริ่มมีความหมายครั้งแรกในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังมีการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นแบบเทศาภิบาล และมีการใช้อย่างแพร่หลายในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในลักษณะที่สร้างความเข้าใจถึงภาระหน้าที่ของประชาชนที่มีถิ่นกำเนิดของตน นับได้ว่าเป็นการเผยแพร่เพื่อสร้างแนวทางของความรักชาติ และชาตินิยมในหมู่ไทย

ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๑ ถึง ๒๔๘๗ ความหมายของคำว่า ชาติ ได้เน้นเรื่องเชื้อชาติ ให้เด่นชัดขึ้นมาทั้งนี้เพื่อให้ความสอดคล้องกับการปลูกความสามัคคี และเกี่ยวพันอย่างสนิทในระหว่างชาวไทยในประเทศสยามกับชาวไทยที่กระจัดกระจาย ในประเทศอื่น ๆ ให้ความรู้สึกมีความเป็นพี่น้องกันในทางเชื้อชาติ นอกจากนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการสร้างชาติ-ชาตินิยมในสมัยนั้น

จากวิทยานิพนธ์ เรื่อง กำเนิดและความเป็นมาของลัทธิชาตินิยมในประเทศไทย ของ ม.ล.จุลลา งอนรถ ได้แบ่งลัทธิชาตินิยมในประเทศไทยเป็น ๒ ยุค คือลัทธิชาตินิยมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และลัทธิชาตินิยมสมัยรัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

ลัทธิชาตินิยมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวถือว่าเป็นผู้ปลูกฝังความรู้สึกลัทธิชาติ

นิยมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถกล่าวได้ว่าพระองค์ท่านได้สร้างความรู้สึกในเรื่องชาตินิยมโดยการปลูก ฝังลงในจิตใจของประชาชน ทั้งทางพระบรมราโชวาท บทพระราชนิพนธ์ การสร้างสัญลักษณ์ต่าง ๆ ประกอบกับมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ช่วยกระตุ้นความรู้สึกให้เพื่อขึ้น ลัทธิชาตินิยมจึงเป็นความรู้สึกที่แพร่หลายอยู่ในขณะนั้น

ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยมในสมัยดังกล่าว เป็นผลต่อเนื่องในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากเหตุการณ์ความกดดันจากประเทศทางยุโรป และจากการก่อการของชาวจีนในประเทศ จึงได้ทำให้คนไทยมีการเคลื่อนไหวเพื่อที่จะต่อต้านจากเหตุการณ์ดังกล่าว จากประเด็นนี้ทำให้คนในชาติเริ่มเกิดความรู้สึกเรื่องชาตินิยมขึ้นมา และต่อจากนั้นได้มีการเชื่อมต่อแนวคิดดังกล่าวมายังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อไป

รายการบล็อกของฉัน