Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ระบบเสียงของพิธากอรัส (Pythagorian Scale)

การเกิดขึ้นของบันไดเสียง ทำให้โลกของดนตรีได้มีวิวัฒนาการที่ชัดเจนขึ้น บันไดเสียงก่อให้เกิดความแตกต่างของดนตรีชนชาติต่าง ๆ เช่น บันไดเสียงเพนทาโทนิก (Pentatonic Scale) นิยมใช้กันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย ส่วนในภูมิภาคของโลกดนตรีตะวันตกนั้นได้รับอิทธิพลของบันไดเสียงโดยตรงจากก รีกโบราณ ซึ่งนักปราชญ์ พิธากอรัส (Pythagorus) ได้คิดค้นขึ้นประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยบันไดเสียงโบราณนี้เรียกว่า Mode และนิยมใช้ในการขับร้องและบรรเลงเครื่องดนตรีในสมัยนั้น อนรรฆ จรัณยานนท์ (2546: 28-29) ได้กล่าวไว้ว่า จากการค้นพบอัตราส่วนความถี่ของเสียงในอนุกรมฮาร์โมนิคบนสายที่ขึงตึงของพิ ธากอรัสตั้งแต่สมัยกรีก ทำให้นำไปสู่การเอาความถี่ของเสียงและระยะขั้นคู่ที่เกิดขึ้นจากเสียง ธรรมชาติเหล่านั้นไปสร้างเป็นบันไดเสียงในเครื่องดนตรีที่ให้เสียงเป็น ธรรมชาติที่สุด เริ่มตั้งแต่การตั้งเสียงให้กับเครื่องดนตรีกรีกโบราณที่เรียกว่า เต็ททร้าคอร์ด (Tetrachord) แล้วพัฒนาไปสู่เครื่องดนตรีอื่น ๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดในยุคต่อ ๆ มา การเปลี่ยนแปลงของการตั้งบันไดเสียงที่สำคัญช่วงแรกในประวัติศาสตร์ ของมนุษยชาติเกิดขึ้นในยุคกลาง (Medieval Period) ที่ทวีปยุโรป เมื่อดนตรีที่บรรเลงและขับร้องกันอยู่ในวัดคริสต์ศาสนา ได้มีการเริ่มใช้แนวทำนอง 2 แนวเพื่อการประสานเสียง ต้องใช้ระดับเสียงที่ต่างกันคู่ 5 Perfect ขับร้องหรือบรรเลงขนานแนวกันไป ในการปฏิบัติลักษณะนี้เรียกว่า ออร์แกนนุม (Organum) และเริ่มเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงแนวเดียว (Monophonic Music) ในเวลานั้น ตามข้อความข้างต้น ทำให้ทราบว่ามนุษย์ได้พัฒนาระบบเสียงดนตรี จากเสียงดนตรีที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากการทดลองของพิธากอรัสในการขึงสายเปล่าบนกล่องเสียง และเกิดเสียงจากอนุกรมฮาร์โมนิกอันประกอบด้วย เสียงพื้นต้น (Fundamental) และเสียงจากฮาร์โมนิกลำดับต่าง ๆ ซึ่งเกิดตามหลังเสียงพื้นต้น เสียงต่าง ๆ เหล่านี้เราเรียกว่า อนุกรมฮาร์โมนิก (Harmonic Serie) พิธอการัสใช้เครื่องมืออะไรในการคิดค้นระบบเสียง พิชัย วาสนาส่ง (2547: 18-21) กล่าวว่า พิธอกอรัส นักปราชญ์ชาวกรีกสมัย 600 ปีก่อนคริสตกาลได้รับการศึกษาจากวัด กล่าวว่า เลข 7 เป็นเลขสำคัญ และมีความหมายมากสำหรับคนโบราณสองชาติ คือ เมโสโปเตเมียและอียิปต์ จึงน่าเชื่อว่าการรู้จักแบ่งระดับเสียงเป็น 7 ระดับแล้วจึงกลับไปซ้ำเสียงเดิมที่สูงขึ้น หรือต่ำลงที่ระดับ 8 คำว่า คู่แปด (Octave) จึงเกิดขึ้น พิธากอรัสสอนให้เข้าใจผลของการแบ่งเสียงที่เกิดขึ้นจากสายที่ขึงตึงระหว่าง สองจุด (Monochord) ข้อความที่กล่าวมานี้ ทำให้ทราบว่า ความเชื่อเดิมก่อนที่พิธากอรัสจะคิดค้นเรื่องการแบ่งเสียงก็มีความเชื่อ เรื่องเลขสำคัญ ตัวเลขนี้ถ้าพิจารณาจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น เลข 7 คือ จำนวนวันในหนึ่งสัปดาห์ แต่ในทางดนตรีคิดถึงเรื่องของบันไดเสียง เลข 12 เกี่ยวข้องกับจำนวนเดือนใน 1 ปี ในทางดนตรีเกี่ยวข้องกับจำนวน คีย์ในระบบโทนอล 12 เมเจอร์คีย์ และ 12 ไมเนอร์คีย์ ซึ่งความเชื่อนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นความจงใจสร้างให้เกิดขึ้น เพราะสถาปัตยกรรมในยุคกรีกก็ได้รับวิธีการคำนวณการตั้งระยะเสา ความสูง- ความกว้างจ! ากทฤษฎีดนตรีด้วย ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ (2545 : 60) กล่าวถึง โมโนคอร์ดว่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีสายเดียว ซึ่งใช้แสดงสัดส่วนความยาวของสายที่สัมพันธ์กับระดับเสียง เป็นชื่อทฤษฎีของพิธากอรัส นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ซึ่งสอดคล้องกับพจนานุกรมฮาร์เปอร์ (Christine: 205) อธิบายลักษณะและหน้าที่ของเครื่อง Monochord ไว้ว่า เป็นเครื่องมือสมัยกรีกโบราณที่ทำจากสายเส้นเดียว อาจทำจากเอ็นสัตว์หรือสายเหล็ก แล้วนำสายนี้ไปขึงให้ตึงบนกล่องไม้ช่วยขยายเสียง (woonden soundbox) มีหย่องอันเล็ก ๆ ที่สามารถเลื่อนไปมาได้ เพื่อไว้เป็นตัวกำหนดระยะทางเช่น ครึ่งสาย, หนึ่งในสี่ ฯลฯ เครื่อง Monochord นี้ได้ถูกประดิษฐ์มาเป็นเวลา 2,500 กว่าปีมาแล้ว จุดประสงค์เพื่อทดลองสาธิตปรากฏการณ์ทางเสียงดนตรีโดยเฉพาะ ทั้งในเรื่องของขั้นคู่เสียง และความสัมพันธ์ในทางดนตรีต่าง ๆ ในยุคกลาง (Middle Ages) ได้มีการเพิ่มหน้าที่ให้กับเครื่องนี้ โดยใส่สายเข้าไปหลาย ๆ สาย เพื่อให้เกิดระดับเสียงซึ่งสามารถบรรเลงร่วมกับการร้องได้ และมีประดิษฐ์แป้นคีย์บอร์ดให้ดีดสายพวกนี้ได้ จนวิวัฒนาการกลายเป็นเครื่องคลาวิคอร์ด (Cla! vichord) ตามลำดับ Percy A. scholes (อ้างถึงใน นพพร ด่านสกุล, 2541:10) ได้กล่าวถึงการก่อเกิดบันไดเสียงในดนตรีตะวันตกไว้อย่างน่าสนใจ สรุปความว่า ในราวประมาณ 550 ปีก่อนคริสตกาล Pythagoras ได้ค้นพบวิธีคิดการใช้มาตรวัดเชิงคณิตศาสตร์กับดนตรีได้เป็นคนแรก โดยใช้เส้นลวดเป็นอุปกรณ์การทดลอง ซึ่งทำให้เขาพบว่าเสียงที่เกิดจากการดีดเส้นลวดจะทีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ เมื่อแบ่งครึ่งเส้นลวดระดับเสียงจะสูงขึ้นกว่าเดิม 1 ชุดระดับเสียง (Octave) ถือว่าเป็นความสำคัญระดับแรก เมื่อแบ่งเส้นเส้นลวดเป็น 3 ส่วนแล้ว 2 ใน 3 ส่วนของเส้นลวดจะมีระดับเสียงสูงขึ้นเป็นขั้นคู่ 5 เพอร์เฟ็ค ในกรณีนี้ถือว่าเป็นความสำคัญระดับรองลงมา และหากว่าแบ่งเส้นลวดออกเป็น 4 ส่วน 3 ใน 4 ส่วนดังกล่าวจะมีระดับเสียงสูงขึ้นจากพื้นเสียงเดิมเป็นขั้นคู่ 4 เพอร์เฟ็ค กรณีนี้ถือเป็นความสำคัญอันดับ 3 จากนั้น Pythagoras ยังนำเสนอไว้ว่าใน 1 ชุดระดับเสียง ประกอบด้วย กลุ่มเสียง 4 ระดับ (Tetrachord) 2 ชุดเชื่อมต่อกัน กลุ่มเสียง 4 ระดับตามแนวคิดของ Pythagoras มี 3 รูปแบบดังที่แสดงต่อไปนี้ 1. semitone – tone – tone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบดอเรียน (Dorian Tetrachord) 2. tone - semitone – tone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบฟรีเจียน (Phrygian Tetrachord) 3. tone – tone – semitone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบลีเดียน (Lydian Tetrachord) ความที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้เราทราบว่า พิธากอรัส ได้ใช้ระเบียบวิธีคิดอย่างสูงเกี่ยวกับการ แบ่งระบบของเสียงดนตรี และจากการคิด Tetrachord ชนิดหลัก ๆ ทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อเรียงต่อ Tetrachord เข้าด้วยกัน 2 ชุดจะก่อให้เกิดบันไดเสียงต่าง ๆ ซึ่งบันไดเสียงที่ที่คิดขึ้นได้เรียกว่า บันไดเสียงแบบพิธากอรัส (Pythagorian Scale) และเมื่อมีการขยายความรู้ไปใช้ในการขับร้องหรือเล่นเครื่องดนตรี ก็จะทำให้เกิดความนิยมเฉพาะกลุ่มจนเป็นชื่อเรียกบันไดเสียงขึ้นมาเฉพาะ เช่น บันไดเสียงไอโอเนียน (Ionian) ก็มาจากกลุ่มชนไอโอเนียนที่อยู่แถบริมทะเล บันไดเสียงไอโอเนียนเป็นที่คุ้นกันดีว่าเป็นบันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scale) ในยุคปัจจุบันนั่นเอง อย่างไรก็ดีในเรื่องของโหมด (Mode) หรือบันไดเสียงโบราณนี้ได้รับแนวคิดมาตั้งแต่สมัยกรีกของจริงอยู่ แต่เมื่อถึงยุคกลางแล้วชื่อและลักษณะของระบบไม่ตรงกับระบบของกรีกเลย ดังเช่น ดอเรียนโหมดของกรีก คือ โน้ต E- E (เทียบจากคีย์บอร์ดแป้นสีขาวทั้งสิ้น) แต่ดอเรียนโหมดของยุคกลาง คือ โน้ต D- D ซึ่งวิวัฒนาการเหล่านี้เป็นผลมาจากความนิยมในการใช้ทั้งสิ้น ตัวอย่างต่อไปนี้มาจากหนังสือ The Music of Early Greece โดย Beatric Perham (1937:24) ได! ้แสดงบันไดเสียงกรีกโบราณทั้ง 3 ประเภทดังนี้ Dorian = E D CB, A G FE Phrygian = D CB A G FE D Lydian = CB A G FE D C หมายเหตุ การไล่บันไดเสียงดังกล่าวเป็นตามนิยมของกรีกคือ การไล่ลง (Descending Scale) และโน้ตที่ชิดกันคือระยะครึ่งเสียง (semitone) โน้ตที่ห่างกัน คือ ระยะเต็มเสียง (tone) ทำไมปัจจุบันนี้จึงไม่สามารถใช้บันไดเสียงพิธากอรัสได้ ตามความรู้ที่เราทราบว่าพิธากอรัสได้คิดเรื่องระบบเสียงจนสามารถสร้างเป็น บันไดเสียงสำเร็จขึ้นมา และศิลปินตลอดจนชนชาติต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์จากการสร้างสรรค์งานดนตรีมากมาย แต่เหตุใดปัจจุบันจึงไม่สามารถใช้บันไดเสียงพิธากอรัสในการประพันธ์เพลงหรือ เล่นดนตรีได้ อนรรฆ จรัณยานนท์ (2546: 28-29) ได้ให้เหตุผลว่า ในการปฏิบัติดนตรีที่ต้องใช้ 2 แนวทำนองต้องใช้ขั้นคู่ 5 เพอร์เฟ็คแท้จริง โดยปราศจากบีท (Beat) วิธีการของพิธากอรัสสามารถใช้ได้ เราเรียกว่าระบบไพธากอเรียน (Pythegorean Temperament) ซึ่งเป็นระบบที่มีวิธีคิดในการสร้างบันไดเสียงด้วยการสร้างคู่ 5 เพอร์เฟ็คในอัตราส่วนความถี่ 3/2 ไปเรื่อย ๆ แล้วลดหรือเพิ่ม Octave เข้ามาเป็นระดับในบันไดเสียง ความนิยมใช้ยังคงอยู่กับการประสานเสียงแบบ Organum แต่ด้วยเหตุที่ดนตรีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องในยุคเรอเนซองค์ ตอนต้นเมื่อลักษณะดนตรีมีหลายแนวทำนอง ขั้นคู่ 3 เมเจอร์ได้รับความนิยมใช้ในการร้องมากขึ้น บันไดเสียงพิธากอเรียนแม้จะให้คู่ 5 ที่แท้จริง แต่ด้วยการสร้างทบคู่ 5 แล้วดรอพมาเข้าสเกลทำให้ไม่ได้คู่ 3 เมเจอร์ที่แม้จริ! ง ตามอัตราส่วน 5/4 ที่ควรจะได้ และคู่ 3 เมเจอร์จากระบบพิธากอเรียนมีช่วงกว้าง 3 เมเจอร์ธรรมชาติ เป็นคู่ 3 เมเจอร์ที่เพี้ยนออกไป จึงทำให้ไม่เป็นที่พอใจกับนักดนตรีที่ฝึกเรื่องเสียงอย่างดี ปัญหาเสียงเพี้ยนตรงนี้นักดนตรีเรียกว่า Wolf Fifth จากข้อกำจัดนี้จึงทำให้เกิดบันไดเสียงใหม่เพื่อให้ทั้งคู่ 5 เพอร์เฟ็คและคู่ 3 เมเจอร์สามารถรอมชอมกันได้ และตรงเสียงในความถี่ธรรมชาติมากที่สุด เรียกว่าระบบจัส (Just Temperament) ข้อความข้างต้นสรุปว่า แม้ระบบเสียงพิธากอรัสสามารถสร้างจากธรรมชาติของอนุกรมฮาร์โมนิก และเกิดขั้นคู่เพอร์เฟ็คดีที่สุดทั้งคู่ 8 และคู่ 5 แต่เมื่อการนำไปใช้ขยายขอบเขตจากทำนองเดียวสู่การประสานหลายทำนอง แม้ว่าผู้เล่นแต่ละแนวจะยึดการร้องในบันไดเสียงเดียวกัน แต่ผลของการประสานเสียงในบางคู่เสียงไม่เกิดผลดีจึงต้องมีการปรับปรุงระบบ บันไดเสียงใหม่ ซึ่งจะกล่าวขยายความในบทต่อไป หนังสืออ้างอิง พิชัย วาสนาส่ง. (2546). เพลงเพลินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ. นพพร ด่านสกุล. (2541). บันไดเสียงโมดอล.(พิมพ์ครั้งที่ 1) สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ. ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. (2545). ปทานุกรมดนตรีสากล. (พิมพ์ครั้งที่ 1) เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์. อนรรฆ จรัณยานนท์. (2546). พัฒนาการของระบบบันไดเสียงในดนตรีตะวันตก. วารสารเพลงดนตรี. 9(8) , 28-29. Beatrice Perham. (1937). The Music of Early Greece. Chicago : The Neil A. KJOS MUSIC CO. Christine Ammer. (1972). Harper’s Dictionary of Music. London : Harper & Row Publishers

รายการบล็อกของฉัน