Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ( คีตกวี นักเขียน และ นักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศส)


แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ (ฝรั่งเศส: Hector Berlioz, เป็นคีตกวี นักเขียน และ นักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศส
-เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) ที่เมืองลาโกตแซ็งต็องเดร จังหวัดอีแซร์
-เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1869) ที่กรุงปารีสเขาเป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญในยุคโรแมนติกของทวีปยุโรป...

ช่วงแรกของชีวิต
เขารู้สึกสนอกสนใจวิถีชีวิตของชาวปารีสมากตั้งแต่เริ่มแรก ในช่วงสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงซึ่งมีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่และมีนักปรัชญาเกิดขึ้นจำนวนมากในปี พ.ศ. 2366 (ค.ศ. 1823) เขาได้ศึกษาการประพันธ์เพลงที่วิทยาลัยดนตรีและนาฏศิลป์ชั้นสูงแห่งชาติ ณ กรุงปารีส ร่วมกับฌ็อง-ฟร็องซัว เลอ ซุเออร์ คีตกวีประจำสถาบันซึ่งมีรูปแบบอลังการ และได้รอดจากอุปสรรคในยุคต่าง ๆ มาได้ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองต่าง ๆ ตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส จนกระทั่งการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์

เขาได้ค้นพบคาร์ล มารีอา ฟอน เว็บเบอร์
(ซึ่งต่อมาได้ใช้เทคนิคของเว็บเบอร์ในการประพันธ์ แซ็งฟอนีฟ็องตัสติก) และได้ประพันธ์ Messe solennelle ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824)ถึงแม้เขาจะหัดเล่นดนตรีเอาเองแบบตามมีตามเกิดมาก่อน แบร์ลีโยซก็ได้เริ่มหัดเล่นกีตาร์และปี่แตร และแม้ว่าเขาจะไม่ประสบผลสำเร็จในการประกวดดนตรีที่กรุงโรม ในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เขาก็ได้เข้ารับศึกษาทางดนตรีที่วิทยาลัยดนตรี (ผู้อำนวยการในสมัยนั้นได้แก่ลุยกิ เชรูบินิ) และได้เรียนกับปรมาจารย์อ็องตน ไรชา ที่สอนเขาเกี่ยวกันฟูเกและconterpoint รวมทั้งเรียนการเรียบเรียงเสียงประสานกับเลอซุเออร์ด้วย


ในปี พ.ศ. 2370 (ค.ศ. 1827) เขาก็ได้เข้ารอบการประกวดดนตรีที่กรุงโรม แต่บทเพลงแคนเต็ต ของเขาที่มีชื่อว่า ลามอร์ดอร์เฟ ได้รับการตัดสินจากคณะกรรมการว่าไม่สามารถจะเอามาบรรเลงจริง ๆ ได้ ในระหว่างการแสดงละครเวทีเรื่องแฮมเล็ต เขาก็ได้ค้นพบวิลเลียม เชกสเปียร์ และตกหลุมรักแฮเรียต นักแสดงสาวชาวไอริชที่แสดงในแฮมเล็ต ซึ่งต่อมาเขาก็ได้เข้าพิธีสมรสกับเธอในปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833)
เขายังได้ค้นพบบทประพันธ์ของเกอเทอ เรื่องเฟาสท์ ซึ่งต่อมาเขาได้ประพันธ์เพลงจากการแปลของเจราร์ด เดอ แนร์วาล ชื่อว่าแปดฉากจากเรื่องเฟาสท์ (พ.ศ. 2371) และอุปรากรโศกนาฏกรรมเรื่อง คำสาปของเฟาสท์ ในปี พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1843)
เขารู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก เมื่อวิทยาลัยดนตรีและนาฏศิลป์ชั้นสูงแห่งชาติ ณ กรุงปารีส ภายใต้การอำนวยการของฟร็องซัว-อ็องตวน อาเบอแน็กได้จัดแสดงซิมโฟนีทุกบทของเบโทเฟิน ในปี พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828)

ผลงานที่มีชื่อเสียงของ แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ 
Symphonic fantastique : First movement 1830(เป็นซิมโฟนีที่แต่งขึ้นจากความชอกช้ำที่ถูกปฏิเสธความรัก), Harold in Italy : Pilgrims'March 1834, Dramatic Symphony 1838 ,Roman Carnival 1844,Hungarian March 1848,The Pirate 1854


ลักษณะทั่วๆไปของการดนตรีในสมัยโรแมนติก 
1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด
อย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป
2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism)
4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism)
5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง
5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด
5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ
5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation ....
5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์
5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความ ดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง....
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

รายการบล็อกของฉัน