Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ประวัติเพลง ลาวคำหอมและลาวดวงเดือน

ประวัติเพลง ลาวคำหอมเป็นเพลงที่แต่ขึ้นเพื่อร้องอวดกันในการเล่นสักวา โดยจะแต่งขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่มีเพลงใดเป็นสมุฏฐาน โดยเพลงเหล่านี้จะมีทำนองที่แต่ขึ้นอย่างไพเราะคมคาย เพลงลาวคำหอมเป็นเพลงที่จ่าเผ่นผยองยิ่ง (โคม) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า "จ่าโคม" นัก ร้องและนักแต่งเพลงสักวามีชื่อผู้หนึ่งแต่งขึ้นโดยอัตโนมัติทั้งบทร้องและ ทำนองเพลง เพลงลาวคำหอมนี้ แม้จะมีประโยคคล้ายและลีลาเป็นอัตรา 2 ชั้นก็จริง แต่ก็มีความยาวไล่เลี่ยกับเพลงอัตรา 3 ชั้น บางเพลง และมีทำนองไพเราะน่าฟังมากจนเป็นที่นิยมแพร่หลายเข้ามาในวงการร้องส่งดนตรี โดยทั่วไป เมื่อทำนองเพลงลาวคำหอมได้รับความนิยมเข้ามาในวงการร้องส่งดนตรี พระยาประสาน ดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) จึง แต่งทำนองดนตรีขึ้นสำหรับบรรเลงรับร้อง โดยถอดจากทำนองร้องของจ่าเผ่นผยองยิ่งอีกชั้นหนึ่ง และก็ได้รับความนิยมแพร่หลายในวงการดนตรีทุกชนิดจนปัจจุบัน


ประวัติเพลง ลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยอมตะอันไพเราะจับใจคนไทยทั้งชาติมานานจนทุกวันนี้และจะเป็น เพลงอมตะ คู่ชาติไทยสืบไปแต่เบื้องหลังของเพลงมีความเศร้าอันลึกซึ้งแอบแฝงอยู่ซึ่ง น้อยคนนักที่จะได้ทราบ
ผู้ประพันธ์เพลงนี้ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมหรือพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และเจ้าจอมมารดามงกุฎประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๒๕
พระองค์เจ้าชาย เพ็ญ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษเมื่อเสด็จกลับมาแล้วทรงเข้ารับราชการใน ตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการใน พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม
กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างมากเมื่อเสด็จกลับจากอังกฤษแล้ว ทรงโปรดให้มีวงปี่พาทย์วงหนึ่งเรียกกันว่า วงพระองค์เพ็ญนอกจากนี้พระองค์ยังทรงเล่นดนตรีได้หลายเครื่องและยังทรงเป็น นักแต่งเพลงที่สามารถพระองค์หนึ่งโดยได้ทรงแต่งเพลง ลาวดวงเดือนซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ในปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสมัยที่ดนตรีไทย โดยเฉพาะปี่พาทย์ได้รับความนิยมแพร่หลายตามบ้านท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ และวัดวาอารามต่างก็มีวงปี่พาทย์เป็นประจำกันมากมายเจ้านายหลายพระองค์ก็มี วงปี่พาท์ประจำวัง มีครูบาอาจารย์ไว้ฝึกสอนปรับปรุงคิดประกวดประขันกันอย่างเอาจริงเอาจัง เช่นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็มีวง วังบูรพาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็มีวง วังบางขุนพรหมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารก็มีวงปี่พาทย์ ชื่อว่า วงสมเด็จพระบรมและพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมก็มีวงปี่พาทย์วง หนึ่งของพระองค์เรียกว่าวงพระองค์เพ็ญซึ่งแต่ลงวงล้วนแต่มีนักดนตรีที่มีฝีไม้ลายมือยอดเยี่ยมทัดเทียมกัน กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม นอกจากจะทรงสนพระทัยในวงปี่พาทย์ของพระองค์เยี่ยงเจ้านายท่านอื่นๆแล้ว ยังทรงเป็นนักแต่งเพลงชั้นดีพระองค์หนึ่งด้วยทรงคิดประดิษฐ์ทำนองเพลงใหม่ๆ แปลกๆอยู่เสมอพระองค์ทรงโปรดท่วงทำนองลีลาของเพลง ลาวดำเนินทราย เป็นอันมากเพราะเพลงนี้เป็นเพลงสำเนียงลาวอันอ่อนช้อยนุ่มนวลเห็นภาพพจน์ บรรยายกาศของภูมิประเทศ และวัฒนธรรมไทยภาคเหนือใน พ.ศ. ๒๔๔๖ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ ได้ทรงเสด็จขึ้นไปเที่ยวนครเชียงใหม่อันเป็นนครแห่งศูนย์กลางวัฒนธรรมล้านนา สมัยนั้นสมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ประจำมลฑลพายัพได้ จัดการรับเสด็จต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงค์อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการรับเสด้จอย่างประเพณีชาวเหนือโดยแท้โดยให้ ประทับในคุ้มหลวงและเสวยพระ
กระยาหารแบบขันโตกมีการแสดงละครและดนตรีในคุ้ม นี้ด้วย

ในงานต้อนรับเสด็จครั้งนี้เจ้าอินทวโรรสแลเเจ้าแม่ทิพยเนตรได้ ชวนเชิญเจ้าพี่เจ้าน้องและพระญาติวงศ์มาร่วมรับเสด็จโดยพร้อมเพียงกันใน บรรดาพระญาติวงศ์เจ้านายเชียงใหม่ปรากฎว่ามีเจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิง คำย่นพร้อมด้วยธิดาองค์โต นามว่า เจ้าหญิงชมชื่น อายุเพิ่งย่างเข้า ๑๖ ปีมาร่วมในงานนี้ด้วย เล่ากันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องเป็นนวลใยใบหน้าอิ่มเอิบเปล่ง ปลั่งดุจพระจันทร์วันเพ็ญ มีเลือดฝาดขึ้นบนใบหน้าจนแก้มเป็นสีชมพู เพราะผิวขาวประดุจงาช้างอยู่แล้วอีกทั้งเจ้าหญิงชมชื่นเป็นกุลสตรีที่เรียบ ร้อยอ่อนหวานน่ารักเจรจาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะด้วยความงามอันน่าพิศวง ประกอบกับความน่ารักนุ่มนวลละมุนละไมจึงเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

พระองค์ เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ ๒๑ ปีบังเกิดความสนพระทัยในดรุณีแน่งน้อย อายุ ๑๖ ปีนี้มากกล่าวกันว่า พระองค์เมื่อได้เห็นเจ้าหญิงชมชื่นก็ถึงกับทรงตะลึงในความงามอันน่าพิศวงจน เกิดความพิสมัยขึ้นในพระทัยเหมือนกับชายหนุ่มพบคนรักครั้งแรก!!
ในวันต่อ มา พระยานิรศราชกิจ ข้าหลวงมลฑลพายัพเป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวัด บ้านปิงเจ้าหญิชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนักเรียนนอกผู้สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษพระองค์นี้หลาย ครั้งหลายหน
นานวันเข้าพระองค์เจ้าชายเพ็ญก็ยิ่งเกิดความปฏิพัทธ์หลงใหล ในเจ้าหญิงชมชื่นเป็ยนิ่งนักพระองค์จึงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่า แก่เจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่น ให้เป็นหม่อมของพระองค์
แต่การเจรจาสู่ ขอกลับได้รับการทัดทานจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์โดยขอผัดผ่อนให้ เจ้าหญิงชมชื่นอายุครบ ๑๘ ปี เสียก่อนและตามขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสกุลนั้นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ใดจะ ทำการอภิเษกสมรสจะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อนเพื่อ ได้รับเป็นสะใภ้หลวง ได้รับยศและตำแหน่งตามฐานะหากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ในตอนนี้เจ้าหญิงก็จะตก อยู่ในฐานะภรรยาน้อยหรือนางบำเรอเท่านั้น
เฒ่าแก่ข้าหลวงใหญ่ยอมจำนนต่อ เหตุผลของเจ้าสัมพันธวงศ์นำความผิดหวังกลับมาทูลให้พระองค์ชายทราบพระองค์ ชายก็ได้รับความผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเพราะเมื่อจะมีรักครั้งแรกทั้ง ทีก็มีกรรมบันดาลขัดขวางไม่ให้รักสมหวังไม่ได้เชยชมสมใจความทุกข์โศกใดจะ เทียมเทียบเปรียบปาน
เมื่อผิดหวังก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพด้วยความร้าวรานพระทัยคงปล่อยให้เชียงใหม่เป็นนครแห่งความรักและความหลังของพระองค์

ครั้น ถึงกรุงเทพ เรื่องการสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้แพร่สะพัดไปในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ทรงทัดทานอย่างหนัก หน่วงโดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานาเป็นอันว่า ความรักของพระองค์ประสบความผิดหวังอย่างสิ้นเชิงทุกประการ
ครา ใดสายลมเหนือพัดมา… พระองค์ชายของเราก็แสนเศร้ารันทดใจครานั้น…เศร้าขึ้นมาคราใด พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ก็เสด็จไปฟังดนตรีตามวังเจ้านายต่างๆ ทั้ง วังสมเด็จ วังบูรพา และวังบางขุนพรหมทุกครั้งที่ทรงสดับดนตรีและทรงดนตรีพระองค์จะโปรดเพลง ลาวเจริญศรี เป็นพิเศษเพราะเป็นเพลงที่นอกจากจะมีความไพเราะอ่อนหวานแล้วยังมีบทร้องที่ ว่า
“อายุเยาวเรศรุ่นเจริญศรีพระเพื่อนพี่แพงน้องสองสมรงามทรงงามองค์อ่อนซ้อนดังอัปสรยหาดฟ้าลงมาเอย”บท ร้องนี้ ทำให้พระองค์หวนรำลึกถึงโฉมอันงามพิลาสของเจ้าหญิงชมชื่นผู้เป็นที่รัก พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยของพระองค์ลงในพระนิพนธ์บทร้อง ลาวดวงเดือนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงเจ้าหญิงผู้เป็นเจ้าหัวใจ ดังนี้…

“โอ้ ละหนอ… ดวงเดือนเอย ข้อยมาเว้า รักเจ้าสาวคำดวงโอ้ดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอยขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุมภ์ ข้อยนี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียมจะหาไหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอยหอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอยหอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชย….เอ๋ย..เราละหนอ
โอ้ละหนอ นวลตาเอย ข้อยนี้รัก แสนรักดังดวงใจโอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกอาลัยเจ้าดวงเดือนเอยเห็นเดือนแรม เริดร้างเวหา ข้อยเบิ่งดูฟ้า (ละหนอ) เห็นมืดมนพี่จะทนทุกข์…ทุกข์ทน เจ้าดวงเดือนเอยเสียงไก่ขันขาน มันหวานเจื้อยแจ้ว ช่างหวานสุดแล้ว หวานแจ้วเจื้อยเอยถึงจะหวาน เสนาะ หวานเพราะกระไรเลย บ่เหมือนทรามเชย…เราละหนอ…”

นี่เอง เป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์เศร้าของพระองค์เป็นอนุสรณ์ เตือนจิตให้สะท้อนรัญจวนหวนคำนึงรำลึกถึงโฉมงามของเจ้าหญิง-ความรัก-ความ หลังคราใดที่ทรงรำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่นพระองค์ก็ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องปลอบ หฤทัยให้คลายเศร้าถ้าไม่ทรงดนตรีเองก็ให้มหาดเล็กข้าหลวงเล่นให้ฟังด้วยลาว เจริญศรี และลาวดวงเดือน ซึ่งขาดไม่ได้ตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน
กรม หมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงมีพระชนมายุน้อยมากเนื่องจากทรงมีอารมณ์อ่อนไหวละเอียดอ่อนและประกอบกับ พระวรกายไม่ค่อยมบูรณ์แข็งแรงเท่าไรนักอีกทั้งทรงหมกมุ่นกับหน้าที่การงาน เพื่อจะให้ลืมความหลังอันแสนเศร้าของพระองค์ที่ฝังใจอยู่ตลอดเวลาอาจเป็น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระชนมชีพของพระองค์สั้นจนเกินไปพระองค์ด่วนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกาน พ.ศ. ๒๔๕๓พระชันษา ๒๘ ปีเท่านั้นเพลง

ลาวดวงเดือน เพลงนี้ เป็นหลักฐานปรากฏผลงานการแต่งเพลงของพระองค์เพียงเพลงเดียวเท่านั้น เพราะไม่สามารถสืบทราบได้ว่าพระองค์ทรงแต่งเพลงใดขึ้นมาอีกหรือไม่ แม้ว่าจะทรงแต่งเพียงเพลงเดียวลาวดวงเดือน ก็ดูเหมือนจะเป็นเพลงที่พระองค์ทรงประพันธ์ด้วยชีวิตจิตใจ และวิญญาณ ความรัก-ความหลัง ของพระองค์ทั้งหมดลงในเพลงนี้...
เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงอันประดุจอนุสรณ์แห่งความรักอมตะระหว่าง…พระองค์เจ้าชายเพ็ญกับเจ้า หญิงชมชื่นผู้เลอโฉมและจะเป็นเพลงรักหวานซาบซึ้งตรึงใจอยู่ในห้วงหัวใจคนไทย ทั้งชาติต่อไปอีกนานเท่านาน…

http://www.youtube-nocookie.com/v/9juW2LZy4Ao?

ประวัติเพลง ลาวดวงเดือน
เรียบเรียงโดย อาจารย์สันติเทพ ศิลปบรรเลง
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย Menmen

กำเนิดวงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง กระทรวงวัง

กำเนิดวงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง กระทรวงวัง
เรื่องราวของครู เพลงในยุคต่อๆ มาแต่ละคน แต่ละรุ่นนั้น ล้วนมีแหล่งกำเนิด ความรู้ ความชำนาญด้านดนตรีสากล มาจาก พระเจนดุริยางค์ ผู้ฝึกสอน ผู้ดูแล วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง หรือ วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร แทบทั้งสิ้น
จึงขอนำเอาเรื่องราวของ วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง มาเล่าสู่กันฟังโดยสังเขป ดังนี้คือ

พระ บาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชประสงค์ จะให้มีกิจการดนตรีสากลขึ้นในประเทศสยาม โดยมุ่งหวังให้ชาวไทย ได้รับรู้และสัมผัสกับดนตรีตะวันตก ตามแบบอย่างอริยะประเทศทั้งหลาย

ใน ปีพ.ศ 2455 ได้ทรงสถาปนาวงดนตรี เครื่องสายฝรั่งหลวง ขึ้นสังกัด กรมมหรสพ กระทรวงวัง โดยว่าจ้างครูฝรั่งชาวอิตาเลียนมาเป็นครูฝึกสอน นักดนตรีส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นนักดนตรีไทย สังกัดวงปี่พาทย์หลวงด้วยกันทั้งสิ้น การฝึกหัดจึงไม่สู้ได้ผล เพราะนักดนตรีแต่ละคนล้วนแล้วแต่สูงอายุ และไม่สันทัดกับเครื่องดนตรีตะวันตก

อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การสื่อความ เพราะครูผู้ฝึกสอนพูดภาษาไทยไม่ได้ นักดนตรีก็พูดและฟังภาษาต่างประเทศไม่ได้อีกเช่นกัน จำเป็นต้องอาศัยล่ามแปล ส่วนล่ามเองนั้น ก็มีพื้นฐานความรู้ด้านดนตรีน้อยมาก ปัญหาจึงเกิดขึ้นมากมายตลอดมา

เมื่อ ลุเข้าปีพ.ศ. 2457 ครูผู้ฝึกสอน จำเป็นต้องเดินทางกลับมาตุภูมิ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวงวงนี้จึงขาดครูผู้สอน เกิดความระส่ำระส่าย และค่อยๆ ทรุดโทรมลงไปทุกขณะ ผู้บัญชาการ กรมมหรสพ จึงได้กราบบังคมทูล ให้ยุบวงลงเสีย

แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสียดายที่จะยุบเลิกวงตามคำกราบบังคมทูล เพราะเป็นวงที่ทรงสถาปนาด้วยพระองค์เอง จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ขุนเจนรถรัฐ ซึ่งรับราชการอยู่กรมรถไฟหลวง และเป็นผู้มีความรู้และความชำนาญด้านการดนตรีสากล เนื่องจากได้เข้าร่วมกับวงดนตรีต่างประเทศอยู่เสมอๆ ให้มารับผิดชอบ ดูแลและฟื้นฟู วงดนตรีสากลวงนี้ต่อไปให้ได้

ขุนเจนรถรัฐ ได้เข้ามารับราชการที่ วงเครื่องสายฝรั่งหลวง เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2460 ในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกรม มีหน้าที่ฝึกสอนและปรับปรุงวงดนตรีนี้เพียงอย่างเดียว

ขุนเจนรถรัฐ หรือ พระเจนดุริยางค์ได้ปรับปรุงแนวทางของวงดนตรีวงนี้ ให้ถูกต้องตามแบบของดุริยางค์สากล และทำการฝึกซ้อมอย่างขะมักเขม้น จนมีสมรรถภาพดีขึ้นทันตาเห็น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงเจนดุริยางค์ ในเวลาต่อมา

ในชั่วเวลาเพียง 3 ปีต่อมา วงดนตรีวงนี้ก็สามารถบรรเลงเพลงไล้ท์มิวสิก และเพลงคลาสสิกได้ เช่น Symphonic Suite; Symphonic Poem เป็นที่พอพระราชหฤทัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวเป็นมากนัก

จึงโปรดเกล้าฯ ให้เปิดการแสดง Symphonic Concert สำหรับประชาชนขึ้น ณ โรงละครหลวงสวนมิสกวันและที่ศาลาสหทัย สถานกาแฟนรสิงห์ เป็นประจำทุกสัปดาห์ จนหนังสือพิมพ์ภาษาต่างประเทศเสนอข่าวว่า เป็นวงดนตรีที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออก

หลวงเจนดุริยางค์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระเจนดุริยางค์

เมื่อ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวงก็ถูกโอนย้ายไปสังกัดกรมศิลปากร เรียกชื่อว่า "วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร"

วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง หรือ วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากรนี้ เป็นแหล่งกำเนิดนัดนตรีสากลเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งต่อมากลายเป็นครูเพลงผู้แต่งทำนองคำร้อง เป็นหัวหน้าวงดนตรี เป็นนักดนตรีที่สืบสาน และวิวัฒนาการทางดนตรีสืบต่อกันเรื่อยมา อาทิเช่น ครูนารถ ถาวรบุตร ผู้ควบคุมวงดนตรี

Etude (เอ - ทู้ด)

Etude เป็นคำในภาษาฝรั่งเศสมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสโบราณคือ Estudie ตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษคือ Study ความหมายคือ
1. เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อพัฒนาเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งโดยเฉพาะ
2. เป็นเพลงที่เน้นเทคนิคใดเทคนิคหนึ่ง ที่นิยมนำมาบรรเลงเพราะความไพเราะของมัน
3. บทเพลงสั้นๆ โดยปกติแล้วจะเขียนขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาด้านดนตรี
4. บทเพลงสั้นๆ ที่แต่งสำหรับงานบรรเลงเดี่ยว เพื่อใช้เป็นแบบฝึกหัดสำหรับฝึกทักษะและความชำนาญ
5. บทเพลงบทสั้นๆ โดยปกติแล้วจะแต่งสำหรับเปียโน นิยมใช้เพื่อสอนนักดนตรีในเทคนิคที่มักจะมีปัญหาในการเล่น เช่น สเกล (Scale) หรือการรัว (Trill) บทประพันธ์แบบ Etude เกิดขึ้นหลังการประพันธ์แบบ Toccata ได้รับความนิยมมากในยุคบาโร้ค Etude ได้รับการพัฒนารูปแบบโดยคีตกวีคนสำคัญคือ Frederic Chopin และ Franz Liszt

Franz Schubert: String Quartet No. 14 in D minor

ผลงาน String Quartet No. 14 in D minor เขียนขึ้นในปี 1824 โดย Franz Schubert หลังจากที่เขารู้ตัวว่าเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพ เพลงนี้เป็นที่รู้จักกันดีในอีกชื่อหนึ่งคือ “The Death and the Maiden Quartet” เพราะในกระบวนที่สองดัดแปลงมาจากทำนองเปียโนประกอบเพลง (Song หรือ Lied) ที่เขาแต่งขึ้นในปี 1817 ซึ่งเพลงนั้นมีชื่อว่า Death and the Maiden ในผลงานเพลงควอเต็ทจำนวนมากที่เขาแต่งขึ้น เพลงนี้คือ String Quartet No.14 และจัดอยู่ในลำดับ D. 810 ตามระบบของ Erich Deutsch ที่จัดเรียบเรียงหมวดหมู่เพลงของ Schubert ผลงานชิ้นนี้คือ String Quartet ที่แบ่งออกเป็นสี่กระบวน

Allegro, in D minor ในอัตราจังหวะปกติ
Andante con moto, in G minor อยู่ในอัตราจังหวะ 2/2
Scherzo: Allegro molto, in D minor อยู่ในอัตราจังหวะ 3/4
Presto, in D minor อยู่ในอัตราจังหวะ 6/8

ใน กระบวนแรกของเพลง รวมทั้ง String Quartet ที่แต่งขึ้นก่อนหน้า (String Quartet No. 13 in A minor, D 804) และแต่งขึ้นถัดจากเพลงนี้ (String Quartet No. 15 in G, Op. 161, D 887) และ String quintet (String Quintet in C, D 956) ของเขา ถือเป็นผลงาน Chamber music ที่มีความยาวและรายละเอียดมากที่สุดในบรรดา String Quartet ที่เขาแต่งขึ้นทั้งหมด แม้ว่าจะแค่บางส่วนของเพลงก็ตาม เเพลงนี้อยู่ในฉันทลักษณ์แบบ Sonata form ที่ประพันธ์ขึ้นใน 3 บันไดเสียงหลักคือ D minor, F major และ A minor

กระบวนที่สองคือ ทำนองหลัก (Theme) ดัดแปลงมาจากเพลงที่เกี่ยวกับความาตายของเขาที่ชื่อ Der Tod und das Madchen (D 531 การจัดระบบเพลงของ Schubert ตามแบบเยอรมัน) และทำนองแปรเปลี่ยน 5 ทำนอง และท่อนจบของกระบวน (Coda)

ทำนองหลัก ของกระบวนที่สามสามารถได้ยินผ่านทำนองชุดเพลงเต้นรำของเปียโน แต่งขึ้นในแบบ Trio ในบันไดเสียง D major และการซ้ำของท่วงทำนองหลัก

ท่วง ทำนองเพลงเต้นรำ Tarantella (ทำนองเพลงเต้นรำพื้นเมืองทางตอนใต้ของอิตาลี โดยปกติจะอยู่ในจังหวะ 6/8, 18/8 หรือ 4/4) ในกระบวนสุดท้ายอยู่ในฉันทลักษณ์แบบ Sonata-rondo ท่วงทำนอง Rondo ที่ปรากฎขึ้นในช่วงแรกจะวนกลับมาในตอนท้าย ส่วนในช่วงกลางเป็นการพัฒนาทำนอง ส่วนท่อนจบของกระบวน (Coda) อยู่ในบันไดเสียงเมเจอร์ที่แสดงถึงชัยชนะและการไขว่คว้า

ในปี 1878 Robert Franz คีตกวีชาวเยอรมันได้ดัดแปลง String Quartet บทนี้เป็น Piano duet และนี่คือหนึ่งในบทประพันธ์ String Quartet คู่กับบทประพันธ์ String Quartet No. 11 in F minor (Quartetto serioso) ของ Beethoven ซึ่ง Mahler นำมาเรียบเรียงใหม่สำหรับวงออร์เคสตร้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีการทวีคูณภาคของเชลโลบางส่วนด้วยดับเบิ้ลเบส

ใน ปี 1930 คีตวกีชาวอังกฤษ John Fouldsได้เรียบเรียงเพลงนี้ขึ้นใหม่สำหรับออร์เคสตร้าต็มวง ในช่วงทศวรรษที่1990 คีตวกีชาวอเมริกัน Andy Stein ได้เรียบเรียงเพลงนี้ขึ้นใหม่ในฉบับ "Symphony in D minor, Death and the Maiden" สำหรับบรรเลงด้วยออร์เคสตร้าเต็มวง นำออกแสดงโดยวง St. Paul Chamber Orchestra, Buffalo Philharmonic รวมทั้งวงอื่นๆ อีกหลายวง ส่วนการบันทึกเสียงเพลงนี้ในฉบับของ Andy Stein ถูกนำมาผลิตออกจำหน่ายโดยบริษัทแผ่นเสียง Naxos Records เมื่อเดือนมีนาคม ปี2009

วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)


http://www.youtube-nocookie.com/v/Yn71hIsm0U8?

เทคโนโลยี่ในศตวรรษที่ 19
ยังเป็นสิ่งที่ไม่ก้าวหน้าไปจากเดิมเท่าใดนัก เรามีนาฬิกาที่ทำเพลงได้และกล่องดนตรี (Musical Box) แต่นักฟังทั้งหลายก็ยังต้องออกจากบ้านไปฟังตามสถานที่ต่าง ๆ เช่นห้องบอลรูมในราชสำนัก เป็นต้น จนกระทั่งปี ค.ศ. 1877 เมื่อโธมัส เอดิสัน ค้นพบจานเสียงที่ทำด้วยแผ่นดีบุกทรงกระบอก และพัฒนาจนเป็นแผ่นเสียง (Phonograph) เช่นในปัจจุบัน ทำให้เกิดการปฏิวัติทางดนตรีก็ว่าได้ ดนตรีสามารถฟังที่บ้านได้ ต่อมาเมื่อปลายศตวรรษที่ “ Daid Caruso “ นักร้องเสียงเทนเนอร์ (Tenor) ผู้ยิ่งใหญ่ได้เซ็นสัญญากับบริษัทแผ่นเสียง เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1902 และท่านได้รับเงิน 100 ปอนด์เป็นค่าจ้างในการบันทึกเสียง อีก 20 ปีต่อมาแผ่นเสียงที่ท่านได้กลายเป็นเศรษฐี ฐานะของนักดนตรีเริ่มเปลี่ยนไป นักดนตรี นักร้อง กลายเป็นผู้มีชื่อเสียง และเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก ในปี ค.ศ. 1910 เพลงคลาสสิกเป็นที่นิยมฟังกันทั่วโลก (เริ่มจากการอัดแผ่นเสียง) หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1920 ดนตรีแจ๊สก็เป็นที่นิยมตามมา ด้วยเทคโนโลยีอันก้าวไกลได้ทำให้การดูคอนเสิร์ทเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องยาก อีกต่อไป เสียงดนตรีที่ไพเราะและภาพการ แสดงคอนเสิร์ทสามารถหาดูได้ที่บ้าน ทั้งทาง วิทยุ โทรทัศน์ โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น วีดีโอเทป แผ่นซีดี ดีวีดี เป็นต้น เอดิสันได้นำดนตรีมาสู่บ้าน ดนตรีคลาสสิกที่เคยจำกัดอยู่แต่ในราชสำนักในกรุงเวียนนา บัดนี้ได้แพร่หลายไปทั่วโลก คุณค่าแก่การฟังและอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของมนุษย์ชาติสืบไป

วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra) ในปัจจุบันซึ่งวิวัฒนาการมาจากศตวรรษที่ 18 มีลักษณะโครงสร้างทั่ว ๆไปดังแผนภาพดังนี้

1. วาทยากรผู้ควบคุมวง (Conductor) ผู้กำกับวงดนตรีออร์เคสตร้าหรือวงนักร้องหมู่ ซึ่งเป็นผู้ชี้บอกจังหวะและระยะเวลาในการบรรเลงดนตรี

2. ไวโอลินลำดับที่ 1 - First violin (นักไวโอลินที่นั่งใกล้วาทยากรคือหัวหน้าวงดนตรีหรือ Concert Master ตำแหน่งของนักไวโอลินลำดับที่ 1 จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้วาทยากรให้มากที่สุด ตำแหน่งเครื่องเป่าและแตรปกติจะอยู่ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องสาย)

3. ไวโอลินลำดับที่ 2 - Second violin

4. เชลโล่ - Cello

5. วิโอล่า - Viola

6. ดับเบิลเบส - Double bass

7. อิงลิช ฮอร์น - English horn

8. โอโบ - Oboe

9. ฟลูต - Flute

10. เบส คลาริเนต - Bass clarinet

11. คลาริเนต - Clarinet

12. บาสซูน - Bassoon

13. คอนทรา บาสซูน - Contra Bassoon

14. เฟรนช์ฮอร์น - French Horn

15. แซกโซโฟน - Saxophone

17. ทูบา - Tuba

18. ทรอมโบน - Trombone

19. ทรัมเปต - Trumpet

20. เปียโนหรือฮาร์พ Piano, Harp

21. ทิมปานี - Timpani [(ตำแหน่งเครื่องดนตรีที่อยู่ห่างวาทยากรที่สุดคือ กลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทตี - Percussion)

22. ฉาบ - Cymbal

23. เบส ดรัม - Bass Drum

24. ไทรแองเกิ้ล - Triangle

25. กลอง - side หรือ Snare Drum

26. Tubular Bells - ระฆังราว

27.ไซโลโฟน - Xylophone ระนาดฝรั่ง ในบางกรณีที่แสดงเปียโนคอนแชร์โต้ ตำแหน่งของเปียโนจะถูกผลักมาอยู่ข้างหน้า

Chamber music คือดนตรีสำหรับการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี โดยนักดนตรีแต่ละคนจะมีแนวบรรเลงของตนเองต่างจากคนอื่น ๆ ไม่เหมือนกับวงดนตรีสำหรับวงดนตรีออร์เคสตร้า ที่มักจะมีนักดนตรีหลายคนต่อแนวบรรเลงหนึ่งแนว ดนตรีแชมเบอร์มิวสิคนี้ เรียกตามจำนวนคนที่เล่นดังนี้

DUET: สำหรับผู้เล่น 2 คน
TRIO: สำหรับผู้เล่น 3 คน
QUARTET: สำหรับผู้เล่น 4 คน
QUINTET: สำหรับผู้เล่น 5 คน
SEXTET: สำหรับผู้เล่น 6 คน
SEPTET: สำหรับผู้เล่น 7 คน
OCTET: สำหรับผู้เล่น 8 คน
NONET: สำหรับผู้เล่น 9 คน

String Quartet เป็นคีตลักษณ์แบบ Chamber music ที่สำคัญ ประกอบด้วยผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลาและเชลโลอย่างละ 1 คน สำหรับ String trio นั้นจะประกอบด้วยเครื่องสายล้วน ๆ 3 เครื่อง และหากตัดเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งออกไปแล้วเพิ่มเปียโนเข้าไป 1 หลังจะเรียกว่า Piano trio หรือหากเพิ่มฮอร์นเข้าไปแทน เรียกว่า Horn trio เป็นต้น

ศัพท์ดนตรีที่น่ารู้
Accent เน้น

Piano เบา

Pianissimo เบามาก

Pianississimo เบามากและอ่อนโยน

Forte ดัง

Fortissimo ดังมาก

Fortississimo ดังเท่าที่จะทำได้

Forzando เล่นด้วยความแรงแล้วค่อยๆ ผ่อนเบาลง

Sforzando แรงแบบกระแทกแล้วค่อยๆ ผ่อนเบาลง โดยความตั้งใจที่จะแสดงถึงความเชี่ยวชาญในการแสดงดนตรีชิ้นนั้น

Mezzo piano ค่อนข้างจะเบา

Mezzo forte ดังพอสมควร

Rallentando, Ritenuto ค่อย ๆ ผ่อนจังหวะให้ช้าลง

Introduction บทนำของเพลง

Pause เรียกว่า “ศูนย์” หมายถึงจังหวะเสียงยามตามความพอใจ

Coda ลงจบของบทเพลง

Fine จบบทเพลง

Cantata บทดนตรีที่มีการร้องเดี่ยวและหมู่

A tempo กลับไปใช้จังหวะเดิม

Cadenza บทบรรเลงเดี่ยวที่ผู้ประพันธ์เขียนขึ้น

Concerto บทประพันธ์ดนตรีที่แสดงความสามารถของผู้เล่นเครื่องดนตรีเดี่ยวและวง ออร์เคสต้า ซึ่งมีลักษณะของการเล่นรับสลับกันบางครั้งก็เป็นการแสดงเดี่ยวเครื่องดนตรี หลายชิ้น เช่น คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน 2 คัน

Mass ดนตรีที่จัดไว้สำหรับพิธีทางศาสนาโรมันคาทอลิก

Opus ผลงานลำดับที่ เป็นคำมาจากภาษาละตินแปลว่า “ผลงาน” Opus ตามด้วยหมายเลขซึ่งแสดงลำดับผลงานของคีตกวีที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ เช่น Beethoven: in A flat major opus 1 หรือ op. 1 หมายถึงผลงานชิ้นที่ 1 ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ และถ้ามีชิ้นย่อยลงไปอีกก็ใช้ no. หรือ number เช่น opus.40, no. 2 เป็นต้น

Crescendo การเพิ่มจากเสียงเบาไปหาดัง

Diminuendo ทำเสียงลดลงทีละน้อย

Symphony บทประพันธ์ดนตรีลักษณะเดียวกับ sonata ที่ประกอบด้วย 4 ท่อน หรือมากกว่านั้นแต่ใช้วงออร์เคสต้าบรรเลงเต็มวง

Solo เดี่ยว เช่น violin solo หมายถึงการเดี่ยวไวโอลิน

Sonata บทประพันธ์ดนตรีที่ประกอบด้วยหลายท่อนหรือกระบวนที่แตกต่างกัน ซึ่งทั่วไปประกอบด้วย 4 ท่อน ท่อนที่ 1. An allegro มีชีวิตชีวา ท่อนที่ 2. A slow movement เป็นท่อนที่ช้า ท่อนที่ 3. A scherzo มีความรื่นเริงสบาย ๆ ท่อนที่ 4. An allegro มีชีวิตชีวา

ต่อไปนี้ เป็นศัพท์ดนตรีบอกความช้าเร็วของจังหวะ ซึ่งมักจะปรากฎทั่วไปในแผ่นเสียง คำบรรยายเพลงทุกชนิด และต้นฉบับ มีประโยชน์สำหรับบอกแนวทางคร่าว ๆ ให้ทราบถึงบรรยากาศของเพลง

จังหวะทั่ว ๆ ไป แบ่งออกเป็น 3 พวก # ช้า - ปานกลาง - เร็ว

จำพวกช้าแบ่งออกเป็น

Lento ช้ามากที่สุดในจำพวกช้าด้วยกัน

Largo ช้ามากที่สุดเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่า Lento

Larghetto ช้ารองลงมาจาก Largo

Adagio ช้ามาก

Andante ช้าพอประมาณ

Andantino ช้าพอประมาณ แต่เร็วกว่า Andante หรือเร็วที่สุดในจำพวกช้าทั้งหมดนี้

จำพวกปานกลางมีอย่างเดียวคือ

Moderato ปานกลางธรรมดา

จำพวกเร็วแบ่งออกเป็น

Allegretto เร็วพอสมควร

Allegro เร็ว

Vivace เร็วอย่างร่าเริง (เล่นแบบกระตุกๆ)

Presto เร็วมาก

Prestissimo เร็วจี๋

ศัพท์ต่อไปนี้แสดงถึงความรู้สึกของจังหวะทำนอง

Grave อย่างโศกเศร้า

Maestoso อย่างสง่าผ่าเผย องอาจ

Tempo giusto ธรรมดา - ปานกลาง

Agitato อย่างร้อนรนตื่นเต้น

Mosso อย่างว่องไว

Con moto อย่างกระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา

“ …. การจะหาความสำราญจากเพลงดี ๆ สักเพลงหนึ่งนั้น ท่านไม่จำเป็นต้องไปรู้ถึงชีวิตของนักแต่งเพลง หรือรู้เบื้องหลังของการแต่งเพลง หรือวันที่ หรือเลขหมาย โอปุส บันไดเสียง หรือความรู้ททางเทคนิคอื่น ๆ เลย….”

ซิกมัน เสปธ

(บทความจากหนังสือดนตรีคลาสสิก)

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ประวัติและความเป็นมา

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ประวัติและความเป็นมา
ศิลปการ ดนตรีมีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานเช่นเดียวกับงาน สถาปัตยกรรม การดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมไปตามยุคต่างๆตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ในยุคกรีกและโรมัน การดนตรีสอดแทรกอยู่ในงานเฉลิมฉลองต่างๆและกิจการทางศาสนา โดยเริ่มมีการใช้ตัวหนังสือแทนโน้ตดนตรี ในศตวรรษที่ 5 เมื่ออาณาจักรเอมไพร์ล่มสลายลง ทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งยุคมืด (Dark Age) ศิลปะแขนงต่าง ๆ รวมทั้งดนตรีก็เสื่อมลง จนกระทั่งถึงยุคกลาง (Middle Age) อันเป็นช่วงต่อระหว่างยุคมืดและยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) การดนตรีได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีก

ในศตวรรษที่ 6 ผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายดนตรีที่มีความซ้ำซาก ขาดความกลมกลืน อีกทั้งไม่มีเมโลดี้ที่ชัดเจน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในวงการดนตรีขึ้น เริ่มจากการขับร้องที่มีตัวโน้ตพร้อมกัน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการร้องเพลงประสานเสียง

ดนตรีคลาสสิกตะวันตก แบ่งออกเป็นยุคสมัยตามไสตล์และปรัชญาความคิดทางดนตรีที่แตกต่างกันอย่าง ชัดเจน ทั้งนี้แบ่งออกเป็นยุคสมัยต่าง ๆ ดังนี้: ยุคกลาง (Middle Age ค.ศ. 500-1400) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance ค.ศ. 1400-1600) ยุคบาโร้ค (Baroque ค.ศ. 1600-1750) ยุคโรแมนติก (Romantic ค.ศ. 1825-1910) และยุคศตวรรษที่ 20 (Twentieth Century ค.ศ. 1910- ปัจจุบัน)

การ รื้อฟื้นศิลปการดนตรี ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในยุคกลางนี้เอง แต่เครื่องดนตรีต่าง ๆ ก็ยังพัฒนาไปไม่ถึงขั้นเป็นดนตรีออร์เคสตร้า เนื่องจากเครื่องดนตรีสมัยนั้นยังล้าสมัยอยู่มากเช่นทรัมเปตไม่มีลิ้น เครื่องเป่ายังมีเสียงไม่ครบ เครื่องสีวีโอลยังมีจุดอ่อนในเรื่องโทนเสียง เป็นต้น ซึ่งได้ใช้เวลาในการพัฒนามาจนถึงศตวรรษที่ 17 เครื่องดนตรีในยุคนั้นได้แก่ ลูท (Lute) ฮาร์พ (Harp) ไพพ์ (Pipe) โอโบ (Oboe) ซึ่งเราจะพบว่าเป็นเครื่องดนตรีของพวกมินเสตร็ล (Minstrel) และทรอบาดอร์ (Trobadour) ที่ใช้ประกอบการขับร้อง และเดินทางท่องเที่ยวไปยังปราสาทต่าง ๆ วิวัฒนาการของดนตรีพวกมินสเตร็ลได้พัฒนาการไปจนสิ้นสุดยุคกลาง และบางเพลงก็ยังมีปราฎอยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ศตวรรษที่ 15 การดนตรีได้เริ่มเบ่งบานขึ้นด้วยการทำงานอย่างหนักของนักดนตรี 3 ท่านคือ พาเลสตริน่า (Giovanni Palestrina 1525-1594) ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งดนตรีสมัยใหม่ (The Father of Modern Music) ลาสซุส (Orland Lassus) และไบร์ด (William Byrd) ท่านทั้ง 3 นี้เป็นผู้เปิดประตูของศิลปการดนตรีจากยุคกลางไปสู่ยุคเรอเนสซองส์ อันเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการทุกแขนง ในยุคนี้งานดนตรีเริ่มมีกฎเกณฑ์ในงานประพันธ์บทเพลงมากขึ้นรวมทั้งเพลงร้อง ในโบสถ์จำนวนนับร้อยและมอตเต็ตอีกจำนวน 600 เพลงซึ่งทำให้ท่านได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งดนตรีสมัยใหม่

อุปรากร หรือ (Opera) ได้ถือกำเนิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 ณ เมืองฟลอเรนซ์ (Florence หรือ Firence) ประเทศอิตาลี และได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดที่กรุงเวียนนา (Vienna)ประเทศออสเตรียโดยคีตกวีกลุ๊ค (Gluck) และโมสาร์ท (Wolfgang Amadeus MoZart) ในปลายศตวรรษที่ 18 และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุปรากรได้รับการพัฒนาต่อมาอีกอย่างรุ่งเรืองโดยคีตกวีที่มีชื่อเสียงได้แก่ เบลลีนี่ (Belini) โดนีเซตติ (donizetti) รอสซินี่ (Rossini)แวร์ดี้ (Verdi) ปุชชินี่ (Puccini) เป็นต้น

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 17 และต่อเนื่องมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 18 โดยมีศิลปินอิตาเลี่ยนเป็นผู้นำ ท่านเหล่านี้ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดนตรีให้เข้าสู่ชีวิตจิตใจชาวยุโรป อย่างแพร่หลาย ซึ่งมีเมืองที่เป็นแหล่งกำเนิดของงานดนตรีนี้ได้แก่ โรม เนเปิล ฟลอเรนซ์ อิทธิพลงานศิลปะการดนตรีของอิตาลีได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางสู่ยุโรปตะวัน ตก ส่วนทางซีกตะวันออกนั้นกรุงเวียนนาเป็นศูนย์รวมที่สำคัญทางดนตรี โดยมีนักดนตรีชาวอิตาเลี่ยนที่สำคัญได้แก่ ซิมาโรซ่า เพสซิชิลโล กัลลูปปี้ ซึ่งเดินทางเข้าไปทำงานที่นครเวียนนา เวียนนาจึงเป็นศูนย์กลางของดนตรีคลาสสิกและมีความรุ่งเรืองติดต่อกันมาถึง 200 ปี ดนตรีคลาสสิกจัดได้ว่าเป็นศิลปะการดนตรีแห่งยุคที่ดนตรีได้รับการพัฒนามาถึง จุดสูงสุดทั้งการประพันธ์และเครื่องดนตรี อาทิ ออร์แกน เปียโน และเครื่องดนตรีของตระกูลไวโอลิน เป็นต้น อันเป็นผลมาจากการการฟื้นฟูศิลปะการดนตรีจากยุคเรอเนสซองส์

  ภาพวาดนักดนตรี(Minstrel)
ยุคคลาสสิก นักดนตรีและคีตกวีที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงหลายท่านได้หลั่งไหลเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานในกรุงเวียนนา อาทิเช่น กลุ๊ค (Gluck) ไฮเดิ้น (Haydn) โมสาร์ท (Mozart) บีโธเฟ่น (Beethoven) ชูเบิร์ท (Schubert) บราหมส์ (Brahms) สเตราส์ (Struass) บรู๊คเนอร์ ( Bruckner) วูล์ฟ (Wolf ) มาห์เลอร์ (Mahler) เชินเบอร์ก(Shoenberg) เวเบิร์น (Webern) เป็นต้น ศิลปินเหล่านี้เป็นผู้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การดนตรีในยุคคลาสสิกเป็น อย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้วกรุงเวียนนายังเป็นศูนย์รวมของศิลปินท่านอื่นๆ อีกมากมายจนแทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีนครใดในโลกที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอัจฉริยะทาง ดนตรีเช่นนครแห่งนี้อีกแล้ว ในยุคนี้การดนตรีได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของชาวยุโรป นักดนตรีและคีตกวีได้รับการสนับสนุนและชุบเลี้ยงจากราชสำนัก ศิลปะการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงส่ง และมรดกที่ที่ได้รับสืบทอดมาจากยุคนี้คือ ซิมโฟนี (Symphony) ซึ่งเป็นดนตรีที่คีตกวีประพันธ์ขึ้นมาอย่างมีกฎเกณฑ์และแบบแผนเช่นเดียวกับ ดนตรีอุปรากร (Opera)และโซนาต้า (Sonata) โซนาต้าและซิมโฟนี่แห่งยุคคลาสสิก

โซนาต้าในยุคนี้ได้ถูกนำมาดัด แปลงให้มีความหมายแตกต่างออกไปจากศตวรรษที่แล้ว โดยหมายถึงการบรรเลงเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวหรือสองชิ้น เช่น Sonata for Violin หมายถึงการบรรเลงเดี่ยวไวโอลิน Piano Sonata หมายถึงการบรรเลงเดี่ยวเปียโน หรือ Sonata for String Quartet หมายถึง การบรรเลงด้วยเครื่องสาย 4 ชิ้น เป็นต้น แต่โครงสร้างของบทเพลงโซนาต้าหรือ นั้นเป็นแบบอย่างเดียวกับบทเพลงซิมโฟนี่ดังนี้คือ บทเพลงซิมโฟนี่ประกอบด้วย 4 ท่อนหรือ Movement แต่บางครั้งอาจมีความยาวกว่า 4 ท่อนก็ได้

โดยทั่วไปนั้น ท่อนที่ 1(First Movement) เป็นบทนำของเพลงมักมีความยาวมากที่สุด อาจมีลีลาที่ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ ท่อนที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนา ธีม (Theme) หรือเนื้อหาหลักของเพลงจากท่อนแรก ท่อนที่ 3 (Third Movement) เป็นลีลาที่ไพเราะผ่อนคลายหรรษาไปตามบทเพลงที่เรียกว่า มินูเอ็ท (Minuet) ท่อนที่ 4 (Fourth Movement) มักจะมีท่วงทำนองที่เร็วและมีสาระของเพลงน้อยกว่าท่อนอื่น บางครั้งก็จะเป็นลีลาที่ผันแปรมาจากท่วงทำนองหลักหรือ ธีม ของเพลงเป็นต้น ซิมโฟนีเป็นบทประพันธ์ดนตรีที่มีความไพเราะและยิ่งใหญ่ สามารถใช้ทดสอบความสามารถและความคิดริเริ่มของคีตกวีแต่ละท่านได้เป็นอย่าง ดี ดนตรีแห่งยุคคลาสสิกมีความรุ่งเรืองสูงส่ง ซึ่งเราจะสังเกตได้จากวงดนตรีออร์เคสตร้าที่มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยเครื่องดนตรีกว่า 100 ชิ้นและวาทยกร (Conductor) 1 คน การจัดจำแหน่งของเครื่องดนตรีต่าง ๆ และนักดนตรีขึ้นอยู่กับวาทยากรแต่ละท่าน วงซิมโฟนีได้ถือกำเนิดครั้งแรกในยุคคลาสสิกนี้เอง และได้รับการพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

Frederic Chopin (1810-1849)
ด้วยความรุ่งเรืองทาง ดนตรีแห่งยุคนี้ จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่า เหตุใดดนตรีคลาสสิกจึงยังคงเป็นที่นิยมอยู่จนทุกวันนี้ จนเรียกได้ว่าเป็นดนตรีอมตะ หาดแต่วิวัฒนาการศิลปะการดนตรีมิได้หยุดอยู่เพียงนี้ ศิลปินได้พยายามแสวงหาแนวทางของศิลปะใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ดนตรีก็เช่นกัน จากยุค คลาสสิก ต่อมาจนถึง โรแมนติก (Romantic) ซึ่งการดนตรียังไม่มีแนวทางต่างกันมากนัก นักดนตรีในยุคโรแมนติกที่มีชื่อเสียง 4 ท่านได้แก่ เมนเดลโซน (Felix Mendelsohn) โชแปง (Federic Chopin) ชูมานน์ (Robert Schumann) ลิซท์ ( Franz Liszt)

ยุคโรแมนติก ได้เริ่มขึ้นเมื่อแนวทางดนตรีเริ่มละทิ้งแบบแผนของคลาสสิก นับจากบทประพันธ์อันยิ่งใหญ่ เช่น “Spring Sonata “ ของโมสาร์ท ดนตรีแห่งยุคโรแมนติกได้หันเหแนวของดนตรีมาสู่แนวทางแห่ง ดนตรีชาตินิยม (Nationalism) โดยใช้เสียงดนตรีแบบพื้นเมือง นอกจากนี้แล้วอิทธิพลทางการเมืองมีส่วนทำให้การดนตรีหันเหไป นับแต่การปฏิวัติในฝรั่งเศส การปฏิวัติในอเมริกา สงครามนโปเลียน เป็นต้น บทเพลง “ The Polonaise “ ของโชแปงก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่งในแบบอย่างของดนตรีแนว Nationalism นอกจากนี้แล้วในยุคโรแมนติกก็ยังเป็นช่วงเวลาก่อกำเนิดคีตกวีและนักดนตรีอีก หลายท่าน อาทิเช่น ปากานินี่ (Nicolo Paganini) ว้ากเนอร์
(Richard Wagner) แวร์ดี้ (Giusseppe Verdi) นอกจากนี้ประเทศรัสเซียก็ยังมีคีตกวีเอกอีกหลายท่านเช่น ไชคอฟสกี้ (Tchaikovsky) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นราชาแห่งบัลเลต์ รวมถึงผลงานอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อุปรากร 10 เรื่อง ซิมโฟนี่ 6 บท บัลเลต์ 3 เรื่อง ที่รู้จักกันดี ได้แก่ Nutcracker, Swan Lake, Sleeping Beauty และบทเพลงที่มีชื่อเสียงมากอีกบทคือ 1812 Overture ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 ก็มีอัจฉริยะทางดนตรีอีก 3 ท่านคือ บราหมส์ มาห์เลอร์ และบรู๊คเนอร์ ซึ่งล้วนอยู่ในแนวทางแห่ง Nationalism ทั้งสิ้น

ดนตรีร่วมสมัย (Contemporary Music)

เพิ่มคำอธิบายภาพ
ก่อนจะเป็นดนตรีร่วมสมัย ดนตรี เป็นศาสตร์แห่งเสียง เป็นสุนทรียศาสตร์แขนงหนึ่งที่อยู่คู่กับมนุษยชาติมาทุกยุคทุกสมัย นับตั้งแต่มนุษย์ได้รู้จักการสื่อสารด้วยวิธีการต่าง ๆ ดนตรีนับเป็นภาษาสำหรับการสื่อสารในเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการแสดงอารมณ์ การแสดงความเป็นพวกเดียวกัน การอ้อนวอนเทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย การแสดงความสุข ความทุกข์ ฯลฯ แม้ในปัจจุบันดนตรีมีวิวัฒนาการมาตามยุคสมัย ตามลำดับ แต่หน้าที่พื้นฐานของดนตรีก็ยังคงไม่ต่างไปจากเมื่อหลายพันปีที่แล้ว ดนตรียังคงเป็นเครื่องมือแสดงอารยธรรมของมนุษย์ต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด ดังที่ ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์ (2547: 19) ให้ความเห็นว่า เมื่อเราหันมาพิจารณาว่า ดนตรีถูกสร้างขึ้นมาทำไม จะพบว่าดนตรีถูกสร้างขึ้นมารับใช้มนุษย์ในหลายบทบาทหลายหน้าที่ และหน้าที่หนึ่งที่ดนตรีถูกสร้างขึ้นมาก็เพื่อนำเสนอในรูปแบบของอารมณ์ ความรู้สึก งานศิลปะช่วยให้มนุษย์สามารถแสดงออก ถ่ายทอดความรู้สึก ความนึกคิด และดนตรีก็เป็นศิลปะชั้นสูงสุดที่อยู่ในรูปของนามธรรมอันไร้ขอบเขตข้อจำกัด ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมา ยุคสมัยต่าง ๆ เป็นตัวแบ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ บนโลก โดยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ สมัยอารยธรรมโบราณ สมัยต้นและกลางคริสต์ศตวรรษ สมัยบาโรค สมัยคลาสสิค สมัยโรแมนติค และสมัยปัจจุบัน การดนตรีในยุคต่าง ๆ ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถบ่งบอกได้ว่ามาจากยุคใดและมีบทบาทอย่างไร ดังที่ ละเอียด เหราปัตย์ (2522: 1) กล่าวว่า ดนตรีในสมัยดึกดำบรรพ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์มากกว่าใน สมัยปัจจุบัน เป็นการแสดงออกถึงจิตวิทยา สังคม ศาสนา สิ่งสักการะบูชา และภาษา เพลงทุกเพลงในสมัยดั้งเดิมจะต้องมีความหมายทั้งสิ้น การจะเข้าใจในเพลงนั้น ๆ อย่างถูกต้องแท้จริงจะต้องไปศึกษาจากชาวพื้นเมืองที่เป็นเจ้าของบทเพลงนั้น ดนตรีสมัยดึกดำบรรพ์มีหน้าที่ 2 ประการสำคัญ คือ (1) ก่อให้เกิดความตื่นเต้น เร้าใจ (2) ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ความสุข ต่อมาในอารยธรรมโบราณ (Ancient Civilization) ความเจริญของโลกมีอยู่ในภูมิภาคตะวันออก ชาติที่มีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น จีน ไทย อินเดีย ฯลฯ และภูมิภาคยุโรปตะวันออก เช่น อียิปต์ ซุเมอร์ บาบิโลเนียน จูเดีย และกรีก ดนตรีทั้งในเอเซีย และยุโรปตะวันออก ได้เริ่มมีวิวัฒนการขึ้น โดยมีการคิดค้นบันไดเสียงเพื่อแบ่งแยก จัดระบบเสียงเป็นของแต่ละชนชาติขึ้นมา เอกลักษณ์นี้ยังคงมีร่องรอยอยู่ในยุคปัจจุบัน เช่น บันไดเสียงเพนทาโทนิค (Pentatonic Scale) ก็ยังคงมีใช้กันในดนตรีภูมิภาคเอเซีย แต่มีความแตกต่างไปในสำเนียงและการจัดระบบเสียง ดนตรีกรีกโบราณ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีของดนตรีตะวันตกที่ยิ่งใหญ่ คือ เมื่อประมาณ 1000 ปีก่อนคริสตกาล มีการคิดค้นการแบ่งระบบเสียงอย่างชัดเจนด้วยแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ โดยนักปราชญ์กรีก คือ พิธากอรัส และมีการคิดเรื่องเครื่องดนตรีประกอบการร้อง มีการใช้เทคนิคการประพันธ์เพลงโดยใช้ Mode ซึ่งมีที่มาจากระบบเตตร้าคอร์ด (Tetrachord) ก่อให้เกิดบันไดเสียงโบราณต่างๆ เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดนตรีในยุคต่อ ๆ มา จากความเชื่อในเรื่องคริสตศาสนา ก็ให้เกิดยุคทางดนตรีที่สำคัญ คือ ยุคเพลงสวด (Plainsong) ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ ( 2533: 8-9) ได้กล่าวว่า ยุคนี้มีช่วงเวลาประมาณ ค.ศ. 200-800 และการดนตรียุคนี้ได้รับอิทธิพลมาจากแหล่งสำคัญ 3 แห่ง คือ ไบแซนไทล์ (Byzantine) ในเอเชียไมเนอร์ , แหล่งต่อมาคือ ซีเรีย (Syria) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันในสมัยนั้น และแหล่งที่ 3 คือ เพลงสวดของชาวฮีบูรว์ (Hebrew) ในปาเลสไตน์ จากการศึกษาความนิยมของบทเพลงสวดในยุคเพลง พบว่าเพลงสวดแบบ เกรกอเรียน ชานต์ (Gregorian chant) ซึ่งเรียกชื่อตามองค์สันตะปาปา Gregory the Great มีอิทธิพลต่อดนตรีในยุคต่อมามาก การใช้บันไดเสียงเพื่อการประพันธ์เพลงมีการใช้ Mode อย่างเด่นชัด และมีนอกเหนือจากการใช้ Mode ทางบันไดเสียงแล้ว ยังมีการใช้ Mode ของจังหวะด้วย เพื่อเป็นรูปแบบของการวางเนื้อเพลง และสร้างทำนองขึ้น จุดเปลี่ยนของการดนตรีได้เกิดขึ้นอีกครั้งในยุคกลาง (Middle Ages) ค.ศ. 800-1400 จากการพัฒนาของเพลงสวดแนวเดียว สู่เพลงสวด 2 แนว โดยมีการใช้ขั้นคู่เข้ามาในการประสานเสียง เรียกว่า ออร์แกนนุม (Organum) และเนื่องจากมีนักดนตรีอิสระจำพวกหนึ่งที่ไม่ได้เล่นดนตรีรับใช้พระเจ้า ได้ตั้งกลุ่มเล่นดนตรีโดยเร่ร่อนแพร่ขยายวัฒนธรรมการดนตรีไปทั่วภูมิภาค ยุโรป จึงเกิดเป็นดนตรีฆราวาส (Secular Music) ขึ้น จากจุดนี้ชี้ให้เห็นว่าดนตรีได้แปรเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับใช้ศาสนา มาสู่การรับใช้คนในสังคม และทำให้เกิดรสนิยมทางการดนตรีในยุโรปที่พระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายสูง ศักดิ์ ต้องมีวงดนตรีไว้ประจำราชวัง เพื่อประดับบารมีหรือเพื่อความบันเทิงในยุคต่อ ๆมา ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) ค.ศ. 1400-1600 ได้มีความเชื่อว่าอารยธรรมตนเป็นตัวแทนของการเกิดใหม่ ดังนั้นทัศนคติต่อการดำรงชิวิตจึงมีความแตกต่างไปจากยุคกลาง ดังที่ ศศี พงศ์สรายุทธ (2544 : 47) ให้ความเห็นว่า ทัศนะการมองโลกของคนในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเป็นผลมาจาก (1) การศึกษาและการพิมพ์ขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1440 ทำให้เกิดการแพร่กระจายวิชาแขนงต่าง ๆ (2) มีการคิดค้นดินปืนและทำลายระบบอัศวิน (3) เริ่มมีเข็มทิศเกิดขึ้น ทำให้มนุษย์ท่องเที่ยวโลกได้กว้างขวาง ความเชื่อเรื่องการดำรงชีวิต คือ การอยู่กับปัจจุบันอย่างมีเหตุผล การดนตรีในยุคนี้จึงมีแนวโน้มที่จะรับใช้สังคมมนุษย์มากกว่าศาสนา พิชัย วาสนาส่ง (2546: 42-43) ได้ให้แนวความคิดอย่างสนใจว่า ดนตรีคลาสสิกเริ่มเกิดขึ้นในสมัยบาโรก (Baroque) ซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 โดยคริสต์ศาสนามีบทบาทสำคัญเชื่อมโยงพลังทางงานศิลป์ให้มีความอลังการในทุก แขนง การประดับประดาอาคาร สถาปัตยกรรมที่งดงามวิจิตร เหล่านี้ย่อมส่งผลต่องานประพันธ์ดนตรีด้วย ดุริยกวี เช่น คลอดิโอ มอนเตเวร์ดี โดเมนิโค สคาร์ลาตตี วิวาลดี ได้สร้างรากฐานชิ้นงานคีตนิพนธ์ต่าง ๆ มากมาย ทั้งในเชิงของทฤษฎีการดนตรีที่มีรูปแบบของ Tonal Music อย่างชัดเจน รูปแบบการประพันธ์เพลงที่มีแบบแผนเฉพาะ ขีดจำกัดของเครื่องดนตรีได้ขยายขอบเขตขึ้น เช่น เครื่องสายตระกูลไวโอลิน พัฒนาถึงจุดสุดยอดสามารถรองรับบทประพันธ์ที่มีความซับซ้อนได้ อีกมุมมองหนึ่งระบบอุปถัมภ์ช่วยให้ความเจริญก้าวหน้าของศิลปะเป็นไปได้ อย่างกว้างขวาง ผู้มีความรู้ความสามารถได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ถ้าเราพิจารณาตามที่ พิชัย วาสนาส่ง ได้กล่าวไว้ข้างต้น ดนตรีคลาสสิกในนัยความหมายของท่าน คือ ดนตรีที่มีรูปแบบการประพันธ์ที่แน่นอน มีระเบียบ ข้อกำหนด ทฤษฎีอย่างชัดเจน ซึ่งในก่อนหน้ายุคบาโรกยังไม่มีเอกลักษณ์เด่นชัดเท่า ดังนั้น ความเป็นดนตรีคลาสสิกจึงกินขอบเขตของยุคบาโรกเรื่อยมาสู่ยุคคลาสสิก ซึ่งมี ไฮเดิน (Haydn) เป็นผู้บุกเบิกแนวทาง และสานุศิษย์อย่าง โมซาร์ท (Mozart) และ บีโธเฟ่น (Beethoven) ได้ยึดถือปฏิบัติในงานประพันธ์ของตนเอง แต่วิธีการประพันธ์เพลงแตกต่างจากยุคบาโรก ดังที่ ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์(2533: 67) กล่าวว่า ดนตรีคลาสสิกยุคต้นนั้น เน้นการประสานเสียงที่ให้ Texture แบบ homophony แทน counterpoint และมีเทคนิคของแนวเบสแบบใหม่ที่เรียกว่า Alberti Bass เข้ามาแทนที่ Basso Continuo ทางด้านเครื่องดนตรีก็มีการพัฒนาแตกต่างไปจากเดิม เช่น เกิด Pianoforte , เครื่องเป่ามีกลไกกระเดื่องทำงานได้ดีขึ้น การประสมวงดนตรีจึงเปลี่ยนแปลงไป ยุคสุดท้ายที่จะได้กล่าวในบทนำนี้ คือ ยุคโรแมนติค (Roamntic Period) ช่วงเวลา ค.ศ. 1820 – 1900 ซึ่งตามประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก ในยุคโรแมนติคนี้เกิดมีคีตกวีมากมาย ทั้งบทเพลงก็มีรูปแบบการประพันธ์ที่วิวัฒน์มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านเสียงประสานและเทคนิคก็ให้เกิดความเข้มข้นของอารมณ์ เพลงอย่างยิ่ง ดนตรีได้เป็นเครื่องมือเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกภายในของมนุษย์อย่างชัดเจน แม้ดนตรีเกี่ยวกับศาสนายังมีอยู่ แต่ก็มีบทบาทลดลงเมื่อเทียบกับดนตรีเพื่อมวลชน มีหลายคนเข้าใจผิดว่า ดนตรีโรแมนติคต้องเกี่ยวข้องกับอารมณ์รักใคร่ อ่อนหวาน หรือรุนแรง อย่างเดียว แต่หากที่จริงแล้ว ดนตรีในยุคโรแมนติคมีความหลากหลายทางแนวคิดอย่างมาก ตัวอย่าง เช่น ดนตรีชาตินิยม (Nationalism) ของซีเบลิอุส (Sibelius) ที่มีชื่อว่า ฟินแลนด์เดีย (Finlandia) ดังที่ ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์ (2535 : 240-241) ให้ความเห็นว่า ฟินแลนด์เดีย เป็นงานซิมโฟนิคโพเอ็ม ที่มีความสำคัญเป็นสัญลักษณ์แห่งชาตินิยมของชาวฟินแลนด์ เพราะความรุนแรงของบทเพลงทำให้ทางการรัสเซียต้องสั่งห้ามนำออกแสดงในช่วง ระหว่าง ค.ศ. 1899 น! ่าแปลกที่บทเพลงนี้ไม่ได้มีคำร้องเนื้อร้องประการใด แต่ความเข้มข้นของบทเพลงสามารถตรึงใจผู้ฟังให้เกิดความรู้สึกเลือดรักชาติ ได้ ในขณะเดียวกันดนตรีบางประเภทงานประพันธ์กลับตรงกันข้าม เช่น โยฮัน สเตร้าส์ (ลูก) (Johann Strauss II) ที่สร้างสรรค์ดนตรีประเภทเพลงเต้นรำจังหวะ Waltz จนกล่าวได้ว่า เป็นประเภทของ Vienna Waltz ซึ่งแสดงถึงความรื่นรมย์ ไม่มีความเศร้าโศกในบทเพลงเลย นี่เป็นความหลากหลายของความเป็นดนตรีโรแมนติคที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ดนตรีร่วมสมัย คือ อะไร คำนิยามของ การร่วมสมัย คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ช่วงขณะเดียวกันในโลกนี้แต่ละที่แต่ละแห่งบนพืนโลกกำลังทำกิจกรรมอะไร กำลังดำรงชีวิตอยู่อย่างไร นั่นคือ การร่วมสมัย กิจกรรมบางอย่างอาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และยังยืดถือปฏิบัติดำรงอยู่ เช่น ศาสนา ประเพณี ในขณะที่บางอย่างเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ เช่น แฟชั่นการแต่งกาย เทคโนโลยีต่าง ๆ ดังนั้นมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความหลายหลาก โลกยุคนี้กล่าวได้ว่าเป็นยุคแห่งข่าวสารและการศึกษาตลอดชีวิต เราจึงควรต้องแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อจะได้เข้าใจและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง แนวความคิดเรื่อง ดนตรีร่วมสมัย อาจนิยามได้โดยอนุมานกับการร่วมสมัยของสิ่งอื่น ๆ เช่น วัฒนธรรม ประเพณี การดำรงชีวิต ดังที่ Mark Slobin และ Jeff Todd Tition อ้างถึงใน อรวรรณ บรรจงศิลป (2547 : 70) กล่าวว่า วัฒนธรรมทางดนตรีเปรียบเสมือนโลกของดนตรี ทุกสังคมมนุษย์มีดนตรี แต่ดนตรีมิใช่ Universal เพราะดนตรีในความหมายของคนแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน วัฒนธรรมทางดนตรีประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันได้แก่ 1. แนวความคิดเกี่ยวกับดนตรี 1.1 ดนตรีและระบบความเชื่อ ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อว่าดนตรีมี ประโยชน์หรือมีโทษ ความเข้าใจหรือความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมในแต่ละกลุ่มชน 1.2 สุนทรีย์ทางดนตรี คนแต่ละคนมีความเข้าใจเรื่องสุนทรียศาสตร์ไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะเป็นคนกลุ่มเดียวกัน เช่น นักร้องคลาสสิก ไม่เข้าใจว่านักร้องแจ๊สมีความไพเราะอย่างไร 1.3 สภาพแวดล้อมทางดนตรี ความเจริญทางสังคมและเทคโนโลยี ก่อให้เกิดสภาพ แวดล้อมใหม่ แม้แต่ดนตรีก็ถูกสร้างสภาพแวดล้อมได้เช่นเดียวกัน เช่น ดนตรีธุรกิจ ที่เปิดตลอดเวลาไม่ว่า โทรทัศน์ วิทยุ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ย่อมทำให้คนในสังคมนั้นอยู่ในสภาพแวดล้อมดนตรีที่ถูกสร้างขึ้นตลอดเวลา 2. ระบบสังคมทางดนตรี ดนตรีไม่ใช่เครื่องแบ่งชนชั้น แต่สังคมและมนุษย์ต่างหากที่แบ่ง ชนชั้นทางดนตรี เช่น กลุ่มคนทำงาน ก็จะร้องเล่นแต่เพลงที่พวกเขาชอบ คนที่มีการศึกษาสูงก็นิยมเพลงดนตรีอีกประเภทหนึ่ง 3. บทเพลงสำหรับแสดง 3.1 สไตล์ของดนตรี (Style) คือ องค์รวมอันได้แก่ ระดับเสียง ทำนอง จังหวะ และการประสานเสียง 3.2 ประเภทของเพลง (Qunres) คือ ชื่อต่าง ๆ ที่จัดกลุ่มให้บทเพลง เช่น เพลง สรรเสริญ (ตัวอย่างเช่น เพลง Chantsong , เพลง Praise song) เพลงเต้นรำ (เช่น Waltz , Tango ) 3.3 คำร้อง (Texts) เกิดจากความสัมพันธ์ของภาษากับดนตรี เพลงร้องสามารถสื่อเข้า ไปในจิตใจได้โดยตรงกับผู้ที่เข้าใจภาษานั้น ๆ 3.4 การแต่งเพลง (Composition) เพลงทุกเพลงล้วนแต่งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ ทั้งสิ้น การแต่งอาจแบ่งได้ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ การแต่งอยู่ในกรอบ (Variation) และการแต่งแบบอิสระทันที (Improvisation ) ความสำคัญประการหนึ่งของการแต่งเพลง คือ การจัดระเบียบสังคม เพราะเพลงสะท้อนถึงแนวความคิดของคนในสังคมนั้น 3.5 การถ่ายทอด (Transmission) ตระกูลนักดนตรีมักถูกถ่ายทอดมาด้วยการดูตัวอย่าง และเลียนแบบ (Oral Tradition) ส่วนดนตรีในระบบการศึกษาถ่ายทอดด้วยการเรียนรู้อย่างเป็นแบบแผน 3.6 การเคลื่อนไหวร่างกายประกอบดนตรี (Movement) ดนตรีก็ให้เกิดการ เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นดนตรีชนิดหยาบที่สุดหรือละเอียดที่สุดก็ตาม ไม่สามารถแยกการเคลื่อนไหวร่างกายมนุษย์ออกจากดนตรีได้ 4. วัฒนธรรมทางด้านวัสดุของดนตรี วัสดุดนตรี คือ สิ่งที่ถูกจับต้องได้ทุกอย่าง ไม่ว่า จะ เป็นเครื่องดนตรี หรือเอกสาร รวมถึงการปฏิวัติของข้อมูล (Information Revolution) ในศตวรรษที่ 20 ด้วย องค์ประกอบทั้ง 4 ของวัฒนธรรมดนตรีที่กล่าวมานี้ เป็นการอธิบายคำจำกัดความของดนตรีร่วมสมัยได้ชัดเจนขึ้น แม้ดนตรีทุกวันนี้มีความเปลี่ยนแปลงขึ้นทุกวัน มีการผสมผสานเพื่อสร้างสิ่งใหม่ การอนุรักษ์ดนตรีดั้งเดิม การนำเสนอรูปแบบดนตรีในลักษณะใหม่ การสร้างระเบียบวีธีการทางดนตรีใหม่ ฯลฯ ความพยายามทั้งหลายเหล่านี้มิได้ทำให้ดนตรีมีหน้าที่หรือบทบาทใหม่ขึ้นแต่ ประการใด แต่หากกับชี้ตัวตนที่แท้จริงของดนตรีให้ชัดเจนมากขึ้นอีก

หนังสืออ้างอิง ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์.(2538). ประวัติดนตรีตะวันตกโดยสังเขป. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์ . (2545). ปทานุกรมดนตรีสากล.(พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์ แสงศิลป์. พิชัย วาสนาส่ง. (2547). เพลงเพลินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ. ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์.(2535). คีตกวี ปรัชญาเมธีแห่งภาษาสากล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:วัชระออฟเซ็ท. ละเอียด เหราปัตย์. (2522). วิวัฒนาการของดนตรีสากล. กรุงเทพฯ. ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์.(2547). ดนตรีเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาด้านสติปัญญาทางอารมณ์. วารสารเพลง ดนตรี , 10(6) , 19. ศศี พงษ์สรายุทธ.(2544). ประวัติและวรรณคดีดนตรีตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ. อรวรรณ บรรจงศิลป์. (2547). แนวความคิดเกี่ยวกับดนตรี. วารสารเพลงดนตรี.10(6) , 70-73.

ระบบเสียงของพิธากอรัส (Pythagorian Scale)

การเกิดขึ้นของบันไดเสียง ทำให้โลกของดนตรีได้มีวิวัฒนาการที่ชัดเจนขึ้น บันไดเสียงก่อให้เกิดความแตกต่างของดนตรีชนชาติต่าง ๆ เช่น บันไดเสียงเพนทาโทนิก (Pentatonic Scale) นิยมใช้กันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย ส่วนในภูมิภาคของโลกดนตรีตะวันตกนั้นได้รับอิทธิพลของบันไดเสียงโดยตรงจากก รีกโบราณ ซึ่งนักปราชญ์ พิธากอรัส (Pythagorus) ได้คิดค้นขึ้นประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยบันไดเสียงโบราณนี้เรียกว่า Mode และนิยมใช้ในการขับร้องและบรรเลงเครื่องดนตรีในสมัยนั้น อนรรฆ จรัณยานนท์ (2546: 28-29) ได้กล่าวไว้ว่า จากการค้นพบอัตราส่วนความถี่ของเสียงในอนุกรมฮาร์โมนิคบนสายที่ขึงตึงของพิ ธากอรัสตั้งแต่สมัยกรีก ทำให้นำไปสู่การเอาความถี่ของเสียงและระยะขั้นคู่ที่เกิดขึ้นจากเสียง ธรรมชาติเหล่านั้นไปสร้างเป็นบันไดเสียงในเครื่องดนตรีที่ให้เสียงเป็น ธรรมชาติที่สุด เริ่มตั้งแต่การตั้งเสียงให้กับเครื่องดนตรีกรีกโบราณที่เรียกว่า เต็ททร้าคอร์ด (Tetrachord) แล้วพัฒนาไปสู่เครื่องดนตรีอื่น ๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดในยุคต่อ ๆ มา การเปลี่ยนแปลงของการตั้งบันไดเสียงที่สำคัญช่วงแรกในประวัติศาสตร์ ของมนุษยชาติเกิดขึ้นในยุคกลาง (Medieval Period) ที่ทวีปยุโรป เมื่อดนตรีที่บรรเลงและขับร้องกันอยู่ในวัดคริสต์ศาสนา ได้มีการเริ่มใช้แนวทำนอง 2 แนวเพื่อการประสานเสียง ต้องใช้ระดับเสียงที่ต่างกันคู่ 5 Perfect ขับร้องหรือบรรเลงขนานแนวกันไป ในการปฏิบัติลักษณะนี้เรียกว่า ออร์แกนนุม (Organum) และเริ่มเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงแนวเดียว (Monophonic Music) ในเวลานั้น ตามข้อความข้างต้น ทำให้ทราบว่ามนุษย์ได้พัฒนาระบบเสียงดนตรี จากเสียงดนตรีที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากการทดลองของพิธากอรัสในการขึงสายเปล่าบนกล่องเสียง และเกิดเสียงจากอนุกรมฮาร์โมนิกอันประกอบด้วย เสียงพื้นต้น (Fundamental) และเสียงจากฮาร์โมนิกลำดับต่าง ๆ ซึ่งเกิดตามหลังเสียงพื้นต้น เสียงต่าง ๆ เหล่านี้เราเรียกว่า อนุกรมฮาร์โมนิก (Harmonic Serie) พิธอการัสใช้เครื่องมืออะไรในการคิดค้นระบบเสียง พิชัย วาสนาส่ง (2547: 18-21) กล่าวว่า พิธอกอรัส นักปราชญ์ชาวกรีกสมัย 600 ปีก่อนคริสตกาลได้รับการศึกษาจากวัด กล่าวว่า เลข 7 เป็นเลขสำคัญ และมีความหมายมากสำหรับคนโบราณสองชาติ คือ เมโสโปเตเมียและอียิปต์ จึงน่าเชื่อว่าการรู้จักแบ่งระดับเสียงเป็น 7 ระดับแล้วจึงกลับไปซ้ำเสียงเดิมที่สูงขึ้น หรือต่ำลงที่ระดับ 8 คำว่า คู่แปด (Octave) จึงเกิดขึ้น พิธากอรัสสอนให้เข้าใจผลของการแบ่งเสียงที่เกิดขึ้นจากสายที่ขึงตึงระหว่าง สองจุด (Monochord) ข้อความที่กล่าวมานี้ ทำให้ทราบว่า ความเชื่อเดิมก่อนที่พิธากอรัสจะคิดค้นเรื่องการแบ่งเสียงก็มีความเชื่อ เรื่องเลขสำคัญ ตัวเลขนี้ถ้าพิจารณาจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น เลข 7 คือ จำนวนวันในหนึ่งสัปดาห์ แต่ในทางดนตรีคิดถึงเรื่องของบันไดเสียง เลข 12 เกี่ยวข้องกับจำนวนเดือนใน 1 ปี ในทางดนตรีเกี่ยวข้องกับจำนวน คีย์ในระบบโทนอล 12 เมเจอร์คีย์ และ 12 ไมเนอร์คีย์ ซึ่งความเชื่อนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นความจงใจสร้างให้เกิดขึ้น เพราะสถาปัตยกรรมในยุคกรีกก็ได้รับวิธีการคำนวณการตั้งระยะเสา ความสูง- ความกว้างจ! ากทฤษฎีดนตรีด้วย ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ (2545 : 60) กล่าวถึง โมโนคอร์ดว่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีสายเดียว ซึ่งใช้แสดงสัดส่วนความยาวของสายที่สัมพันธ์กับระดับเสียง เป็นชื่อทฤษฎีของพิธากอรัส นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ซึ่งสอดคล้องกับพจนานุกรมฮาร์เปอร์ (Christine: 205) อธิบายลักษณะและหน้าที่ของเครื่อง Monochord ไว้ว่า เป็นเครื่องมือสมัยกรีกโบราณที่ทำจากสายเส้นเดียว อาจทำจากเอ็นสัตว์หรือสายเหล็ก แล้วนำสายนี้ไปขึงให้ตึงบนกล่องไม้ช่วยขยายเสียง (woonden soundbox) มีหย่องอันเล็ก ๆ ที่สามารถเลื่อนไปมาได้ เพื่อไว้เป็นตัวกำหนดระยะทางเช่น ครึ่งสาย, หนึ่งในสี่ ฯลฯ เครื่อง Monochord นี้ได้ถูกประดิษฐ์มาเป็นเวลา 2,500 กว่าปีมาแล้ว จุดประสงค์เพื่อทดลองสาธิตปรากฏการณ์ทางเสียงดนตรีโดยเฉพาะ ทั้งในเรื่องของขั้นคู่เสียง และความสัมพันธ์ในทางดนตรีต่าง ๆ ในยุคกลาง (Middle Ages) ได้มีการเพิ่มหน้าที่ให้กับเครื่องนี้ โดยใส่สายเข้าไปหลาย ๆ สาย เพื่อให้เกิดระดับเสียงซึ่งสามารถบรรเลงร่วมกับการร้องได้ และมีประดิษฐ์แป้นคีย์บอร์ดให้ดีดสายพวกนี้ได้ จนวิวัฒนาการกลายเป็นเครื่องคลาวิคอร์ด (Cla! vichord) ตามลำดับ Percy A. scholes (อ้างถึงใน นพพร ด่านสกุล, 2541:10) ได้กล่าวถึงการก่อเกิดบันไดเสียงในดนตรีตะวันตกไว้อย่างน่าสนใจ สรุปความว่า ในราวประมาณ 550 ปีก่อนคริสตกาล Pythagoras ได้ค้นพบวิธีคิดการใช้มาตรวัดเชิงคณิตศาสตร์กับดนตรีได้เป็นคนแรก โดยใช้เส้นลวดเป็นอุปกรณ์การทดลอง ซึ่งทำให้เขาพบว่าเสียงที่เกิดจากการดีดเส้นลวดจะทีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ เมื่อแบ่งครึ่งเส้นลวดระดับเสียงจะสูงขึ้นกว่าเดิม 1 ชุดระดับเสียง (Octave) ถือว่าเป็นความสำคัญระดับแรก เมื่อแบ่งเส้นเส้นลวดเป็น 3 ส่วนแล้ว 2 ใน 3 ส่วนของเส้นลวดจะมีระดับเสียงสูงขึ้นเป็นขั้นคู่ 5 เพอร์เฟ็ค ในกรณีนี้ถือว่าเป็นความสำคัญระดับรองลงมา และหากว่าแบ่งเส้นลวดออกเป็น 4 ส่วน 3 ใน 4 ส่วนดังกล่าวจะมีระดับเสียงสูงขึ้นจากพื้นเสียงเดิมเป็นขั้นคู่ 4 เพอร์เฟ็ค กรณีนี้ถือเป็นความสำคัญอันดับ 3 จากนั้น Pythagoras ยังนำเสนอไว้ว่าใน 1 ชุดระดับเสียง ประกอบด้วย กลุ่มเสียง 4 ระดับ (Tetrachord) 2 ชุดเชื่อมต่อกัน กลุ่มเสียง 4 ระดับตามแนวคิดของ Pythagoras มี 3 รูปแบบดังที่แสดงต่อไปนี้ 1. semitone – tone – tone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบดอเรียน (Dorian Tetrachord) 2. tone - semitone – tone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบฟรีเจียน (Phrygian Tetrachord) 3. tone – tone – semitone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบลีเดียน (Lydian Tetrachord) ความที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้เราทราบว่า พิธากอรัส ได้ใช้ระเบียบวิธีคิดอย่างสูงเกี่ยวกับการ แบ่งระบบของเสียงดนตรี และจากการคิด Tetrachord ชนิดหลัก ๆ ทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อเรียงต่อ Tetrachord เข้าด้วยกัน 2 ชุดจะก่อให้เกิดบันไดเสียงต่าง ๆ ซึ่งบันไดเสียงที่ที่คิดขึ้นได้เรียกว่า บันไดเสียงแบบพิธากอรัส (Pythagorian Scale) และเมื่อมีการขยายความรู้ไปใช้ในการขับร้องหรือเล่นเครื่องดนตรี ก็จะทำให้เกิดความนิยมเฉพาะกลุ่มจนเป็นชื่อเรียกบันไดเสียงขึ้นมาเฉพาะ เช่น บันไดเสียงไอโอเนียน (Ionian) ก็มาจากกลุ่มชนไอโอเนียนที่อยู่แถบริมทะเล บันไดเสียงไอโอเนียนเป็นที่คุ้นกันดีว่าเป็นบันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scale) ในยุคปัจจุบันนั่นเอง อย่างไรก็ดีในเรื่องของโหมด (Mode) หรือบันไดเสียงโบราณนี้ได้รับแนวคิดมาตั้งแต่สมัยกรีกของจริงอยู่ แต่เมื่อถึงยุคกลางแล้วชื่อและลักษณะของระบบไม่ตรงกับระบบของกรีกเลย ดังเช่น ดอเรียนโหมดของกรีก คือ โน้ต E- E (เทียบจากคีย์บอร์ดแป้นสีขาวทั้งสิ้น) แต่ดอเรียนโหมดของยุคกลาง คือ โน้ต D- D ซึ่งวิวัฒนาการเหล่านี้เป็นผลมาจากความนิยมในการใช้ทั้งสิ้น ตัวอย่างต่อไปนี้มาจากหนังสือ The Music of Early Greece โดย Beatric Perham (1937:24) ได! ้แสดงบันไดเสียงกรีกโบราณทั้ง 3 ประเภทดังนี้ Dorian = E D CB, A G FE Phrygian = D CB A G FE D Lydian = CB A G FE D C หมายเหตุ การไล่บันไดเสียงดังกล่าวเป็นตามนิยมของกรีกคือ การไล่ลง (Descending Scale) และโน้ตที่ชิดกันคือระยะครึ่งเสียง (semitone) โน้ตที่ห่างกัน คือ ระยะเต็มเสียง (tone) ทำไมปัจจุบันนี้จึงไม่สามารถใช้บันไดเสียงพิธากอรัสได้ ตามความรู้ที่เราทราบว่าพิธากอรัสได้คิดเรื่องระบบเสียงจนสามารถสร้างเป็น บันไดเสียงสำเร็จขึ้นมา และศิลปินตลอดจนชนชาติต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์จากการสร้างสรรค์งานดนตรีมากมาย แต่เหตุใดปัจจุบันจึงไม่สามารถใช้บันไดเสียงพิธากอรัสในการประพันธ์เพลงหรือ เล่นดนตรีได้ อนรรฆ จรัณยานนท์ (2546: 28-29) ได้ให้เหตุผลว่า ในการปฏิบัติดนตรีที่ต้องใช้ 2 แนวทำนองต้องใช้ขั้นคู่ 5 เพอร์เฟ็คแท้จริง โดยปราศจากบีท (Beat) วิธีการของพิธากอรัสสามารถใช้ได้ เราเรียกว่าระบบไพธากอเรียน (Pythegorean Temperament) ซึ่งเป็นระบบที่มีวิธีคิดในการสร้างบันไดเสียงด้วยการสร้างคู่ 5 เพอร์เฟ็คในอัตราส่วนความถี่ 3/2 ไปเรื่อย ๆ แล้วลดหรือเพิ่ม Octave เข้ามาเป็นระดับในบันไดเสียง ความนิยมใช้ยังคงอยู่กับการประสานเสียงแบบ Organum แต่ด้วยเหตุที่ดนตรีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องในยุคเรอเนซองค์ ตอนต้นเมื่อลักษณะดนตรีมีหลายแนวทำนอง ขั้นคู่ 3 เมเจอร์ได้รับความนิยมใช้ในการร้องมากขึ้น บันไดเสียงพิธากอเรียนแม้จะให้คู่ 5 ที่แท้จริง แต่ด้วยการสร้างทบคู่ 5 แล้วดรอพมาเข้าสเกลทำให้ไม่ได้คู่ 3 เมเจอร์ที่แม้จริ! ง ตามอัตราส่วน 5/4 ที่ควรจะได้ และคู่ 3 เมเจอร์จากระบบพิธากอเรียนมีช่วงกว้าง 3 เมเจอร์ธรรมชาติ เป็นคู่ 3 เมเจอร์ที่เพี้ยนออกไป จึงทำให้ไม่เป็นที่พอใจกับนักดนตรีที่ฝึกเรื่องเสียงอย่างดี ปัญหาเสียงเพี้ยนตรงนี้นักดนตรีเรียกว่า Wolf Fifth จากข้อกำจัดนี้จึงทำให้เกิดบันไดเสียงใหม่เพื่อให้ทั้งคู่ 5 เพอร์เฟ็คและคู่ 3 เมเจอร์สามารถรอมชอมกันได้ และตรงเสียงในความถี่ธรรมชาติมากที่สุด เรียกว่าระบบจัส (Just Temperament) ข้อความข้างต้นสรุปว่า แม้ระบบเสียงพิธากอรัสสามารถสร้างจากธรรมชาติของอนุกรมฮาร์โมนิก และเกิดขั้นคู่เพอร์เฟ็คดีที่สุดทั้งคู่ 8 และคู่ 5 แต่เมื่อการนำไปใช้ขยายขอบเขตจากทำนองเดียวสู่การประสานหลายทำนอง แม้ว่าผู้เล่นแต่ละแนวจะยึดการร้องในบันไดเสียงเดียวกัน แต่ผลของการประสานเสียงในบางคู่เสียงไม่เกิดผลดีจึงต้องมีการปรับปรุงระบบ บันไดเสียงใหม่ ซึ่งจะกล่าวขยายความในบทต่อไป หนังสืออ้างอิง พิชัย วาสนาส่ง. (2546). เพลงเพลินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ. นพพร ด่านสกุล. (2541). บันไดเสียงโมดอล.(พิมพ์ครั้งที่ 1) สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ. ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. (2545). ปทานุกรมดนตรีสากล. (พิมพ์ครั้งที่ 1) เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์. อนรรฆ จรัณยานนท์. (2546). พัฒนาการของระบบบันไดเสียงในดนตรีตะวันตก. วารสารเพลงดนตรี. 9(8) , 28-29. Beatrice Perham. (1937). The Music of Early Greece. Chicago : The Neil A. KJOS MUSIC CO. Christine Ammer. (1972). Harper’s Dictionary of Music. London : Harper & Row Publishers

ดนตรี คณิตศาสตร์ทางอารมณ์

เสียงเพลงสามารถชวนให้เกิดอารมณ์ เศร้า หรือทำให้มีความปลาบปลื้มยินดี อีกทั้งทำให้หวาดกลัวจนขนลุกตั้งชันเสียวสันหลังขึ้นมาก็ได้ สิ่งนี้เป็นขึ้นได้อย่างไร นักวิจัยได้ทำการค้นคว้าเพื่อไขปริศนาว่าจากคลื่นแรงเหวี่ยงในธรรมชาตินั้น มันเปลี่ยนสภาพกลายมาเป็นอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ได้อย่างไร แล้วปริศนาของนักคีตกวีทั้งหลายมีความเป็นมาอย่างไร เพราะดนตรีนี่หรือเปล่า ที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์สังคม

ดนตรีเป็นศิลปะที่แปลกที่สุดที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเมื่อเทียบกับการวาดภาพ การแต่งกลอน การแกะสลักรูปปั้น เสียงสอดคล้องกันเพียงเสียงเดียว หรือทำนองเดี่ยวเฉยๆ ก็ยังไม่มีความหมาย

ในตัวแกนของดนตรีนั้น คือคณิตศาสตร์ล้วน เป็นแรงแกว่งของลมที่ถูกคำนวณด้วยตัวเลข-ซึ่งความถี่ห่างของแรงเหวี่ยงใน อากาศนั้นๆ เข้าไปทับซ้อนกัน แล้วความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งก็บังเกิดขึ้น-จากคณิตศาสตร์กลายมาเป็นความ รู้สึกทางอารมณ์ ดนตรีสามารถกระตุ้นจิตใจได้อย่างลึกซึ้ง ให้เกิดการคิดถึงอาลัย หรือรู้สึกถึงความมีชัยชนะ

แล้วเพราะเหตุไรจึงเกิดมีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวเลขกับเสียง มนุษย์เริ่มร้องรำทำเพลงมาตั้งแต่เมื่อใด แล้วทำไมจึงต้องมีการร้องเพลง

ด้วยเครื่องมืออันทันสมัยนักวิทยาศาสตร์หลายแขนง เช่น นักจิตวิทยา นักประสาทวิทยา นักคำนวณ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง นักวิชาการด้านดนตรีพากันสืบหาปรากฏการณ์ที่ว่านี้อย่างถึงรากถึงบึง ยิ่งค้นก็ยิ่งพบหลักฐานว่าดนตรีนั้นผูกพันอยู่กับชีวิตมนุษย์มานานนักหนา ในสมัยหินมีการนั่งล้อมกองไฟ และร้องเพลง พร้อมกับเต้นไปรอบๆ กองไฟ ในถ้ำที่พวกเขาอาศัยอยู่ได้พบขลุ่ยทำจากกระดูกหงส์ที่เจาะไว้ 3 รู คาดว่าจะมีอายุราว 35,000 ปี

เสียงที่เกิดขึ้นจะโดยธรรมชาติ หรือจากเครื่องดนตรีก็ตามเป็นขึ้นเนื่องจากมีการสั่นไหวหลายๆ ครั้ง แล้วแกว่งทับซ้อนกันไปมา ดนตรีกำเนิดมาแต่ธรรมชาติที่ผันแปรมาเป็นวัฒนธรรม เริ่มจากเสียงกระทบของท่อนไม้ที่กลวง เสียงหวีดคล้ายการผิวปากจากลมพัด เสียงกระแสน้ำไหล ใบไม้สีกันกรอบแกรบ เสียงเหยียบทรายดังกรอดๆ เสียงผึ้งพึมพำ หรือแม้แต่แค่ก้อนหินกลิ้งตกลงมาก็เป็นต้นเหตุให้มนุษย์รับรู้เรื่องดนตรี และนำไปตีความ

ทำนองกับจังหวะนั้นทำปฏิกิริยาต่อระบบสมองตรงส่วนที่รับรู้เรื่องเศร้า เรื่องยินดี ความใฝ่ฝัน ความปรารถนาต่างๆ ดังนั้น การชมภาพยนตร์ที่ไร้เสียงเพลงประกอบ จะไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกให้ผู้ชมได้เลย พูดได้ว่าดนตรีคือผู้เปิดประตูให้เกิดความรู้สึกทางจิตใจ

มีนักประสาทวิทยาหลายคนทั้งชาวเยอรมัน (Stefan Koelsch) และชาวแคนาดา (Anne Blood) ทดลองด้วยการวัดคลื่นสมองของพวกอาสาสมัครโดยใช้สายเคเบิลเป็นประจุไฟฟ้าที่ ติดเชื่อมอยู่กับผ้ายางสวมหัวคล้ายหมวกอาบน้ำในหลายๆ จุดรอบศีรษะเพื่อจะดูว่าเสียงเพลงประเภทใดที่เจ้าตัวบอกว่าชอบ หรือไม่ชอบจะเข้าไปทำปฏิกิริยาต่อสมองส่วนไหนบ้าง และนาง Blood ก็สรุปออกมาว่า

"เพลงที่เจ้าตัวว่าไพเราะนั้น ขมับซ้ายและสมองส่วนหน้าจะทำงานแล้วเข้าไปกระตุ้นที่สมองส่วนกลาง ซึ่งจุดนั้นทำให้คนเรามีความสุข แล้วสมองบริเวณเดียวกันนี้แหละที่ถูกกระตุ้นด้วยเมื่อเวลาเรารับประทานอาหาร ร่วมเพศ หรือเสพยา ในทางตรงกันข้ามเมื่อให้ฟังเพลงที่บอกว่าไม่ชอบ หรือฟังแล้วมีอาการสยองแบบระทึกใจ การทำงานของเส้นประสาทจะยิงไปที่ขมับขวา ที่น่าสนใจคือสมองแถบนี้ก็ทำงานด้วยเมื่อคนเราถูกยั่วยวนให้โกรธ"

ส่วนนักค้นคว้าด้านวิวัฒนาการชาวญี่ปุ่น ฮาจิเมะ ฟูกุยวิ เคราะห์ว่า "การร้องรำทำเพลงร่วมกันในกลุ่มสุภาพบุรุษทำให้ความเข้มข้นในฮอร์โมนก้าว ร้าว (Testosterone) ลดลง และถ้าร้องร่วมกันทั้ง 2 เพศจะเกิดการหลั่งสารคอร์ติซอน (Cortisone) ซึ่งเป็นการลดความเครียด"

เป็นความสามารถของประสาทหู เพราะข้างในหูคนเรามีเซลล์ประสาทเป็นเส้นขน 5,000 เส้น ซึ่งทำหน้าที่แปรสภาพให้เกิดพลังคลื่นเสียงเป็นไฟฟ้าในกระแสประสาท การบันทึกเสียงผ่านเยื่อแก้วหูเกิดขึ้นโดยความกดของอากาศ (โมเลกุลอากาศเล็กจี๊ดเดียว) ที่แกว่งไปมา พอเสียงเข้าไปในหูแล้วยังมีการขยายต่อโดยให้เสียงผ่านเข้ากระดูกข้อต่อในหู แล้วมีแผ่นบางๆ รองรับที่จะส่งต่อไปยังสารเหลวที่อยู่ในส่วนลึก

นั่นคือกระบวนการทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกทางใจจนมนุษย์เข้าไปสัมผัสกับมิติอื่นได้

นักค้นคว้าหลายคนยังสงสัยอีกว่าธรรมชาติให้มีดนตรีไว้เร้าอารมณ์ซึ่งเป็น ระบบที่ร่างกายจะให้รางวัลตนเอง อย่างนั้นหรือ บางรายวิเคราะห์ว่าน่าจะเกี่ยวกับการหาคู่เพราะการร้องเพลงโดยเฉพาะในสัตว์ เช่น นก หรือแมลงส่งเสียงร้องเพื่อกระตุ้นให้เพศตรงข้ามมาผสมพันธุ์

ฝ่ายนาย David Huron ชาวอเมริกันนักวิจัยด้านดนตรีจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอกล่าวว่า "ดนตรีน่าจะเกิดขึ้นเพื่อให้คนอยู่รวมกลุ่มกัน เพราะมนุษย์ต้องการความสัมพันธภาพด้านสังคมเป็นอย่างยิ่ง งานหลายๆ อย่างที่ต้องการกำลังใจ ต้องการระดมคนหลายๆ คนมาร่วมมือกัน เช่น นายพรานจะออกไปล่าสัตว์ เหล่าทหารจะออกไปสู้รบกับข้าศึก ชาวนาเก็บเกี่ยวผลิตผล สัตรีรวมกลุ่มกันประดิษฐ์งานหัตกรรม ฯลฯ"

ทฤษฎีอันเดียวกันนี้ที่ว่าดนตรีเป็นตัวเชื่อมประสานของสังคมนั้น นักค้นคว้าด้านวิวัฒนาการชาวญี่ปุ่น นายฮาจิเมะ ฟูกุย เสริมว่า

"ยิ่งมีกลุ่มมนุษย์เพิ่มมากขึ้น การไกล่เกลี่ยความตรึงเครียดในสังคม และทางเพศก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นด้วย และดนตรีนี่แหละ คือทางออก"

เมื่อนักวิชาการทั้งหลายเห็นร่องรอยการสร้างของธรรมชาติที่ว่านี้ ก็เชื่อแน่ว่าคลื่นเสียงดนตรีที่เกิดจากการแกว่งไปมาของลม (หรือโมเลกุลในอากาศ) ตามตัวเลขอันซับซ้อน แล้วเข้ามากระทบกับเส้นประสาทหูจนเกิดกระบวนการไปกระตุ้นความรู้สึกทาง อารมณ์ดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ในสมองมนุษย์น่าจะต้องมีการวางรากฐานทางดนตรีไว้อยู่ก่อน แล้ว

ดังนั้น เด็กตัวเล็กๆ จึงเป็นเป้าในการทดลองเพื่อ การศึกษาในเรื่องนี้ เพราะในหัวเด็กนั้นเขาถือว่ายังไม่ทันมีสีสันของวัฒนธรรมใดๆ เข้าไปย้อม

จิตแพทย์หญิงชาวคานาดา Sandra Drehub ได้ทดสอบกับเด็กตัวน้อยๆ โดยจัดให้คุณหนูๆ เข้าไปอยู่ในห้องทดลองที่มีของเล่นน่าเพลิดเพลินสารพัดชนิด และมีลำโพงขยายเสียงอยู่ในนั้นด้วยเพื่อทำการทดสอบค้นหารากฐานแห่งดนตรีใน สมองเด็ก

การทดลองของแพทย์หญิงที่ว่านี้ก็ใช้วิธีง่ายๆ คือเปิดเพลงเด็กในทำนองเดี่ยวเรียบๆ สำหรับให้เด็กเล็กๆ ที่เพิ่งจะเริ่มหัดพูดฟัง แล้วลองแอบใส่ทำนองอื่นที่มีเสียงเพี้ยนแทรกเข้าไปเป็นระยะๆ โดยทิ้งช่วงห่างบ้าง ถี่บ้าง

แล้วแพทย์ผู้ทำการทดลองคนนี้ก็ต้องพบกับความน่าพิศวงยิ่ง เพราะมนุษย์ตัวน้อยๆ ที่กำลังเพลินกับของเล่นอยู่นั้นต้องชะงัก และหันหัวไปทางลำโพงทุกครั้งเมื่อได้ยินทำนองแปลกปลอม ซึ่งไม่เข้ากับจังหวะเพลงที่เปิดอยู่เลย

คำถามที่ว่าธรรมชาติได้ฝังหลักสูตรความสอดคล้องในการประสานเสียงทั้งหลายไว้ ในสมองมนุษย์ แล้วมีการถ่ายทอดยีนอันนี้ไปเรื่อยๆ ใช่หรือไม่นั้น หากจะเอาคำตอบนี้คงต้องไปหาอาสาสมัครที่แทบจะไม่มีโอกาสได้ยินเสียงเพลงเลย มาทดสอบ ซึ่งคงหาไม่พบแน่

เพราะเดี๋ยวนี้เป็นยุคไฮเทคอิทธิพลของดนตรีได้แพร่ขยายไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ไปที่ไหนก็มีเสียงเพลงกระจายไปทั่วโลก เช่น ในเรือบินในรถยนต์ ในครัว ตามสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟ

แม้แต่ในกระต๊อบของหมู่บ้านเล็กๆ ประเทศปาปัวนิวกินีแสนห่างไกลความเจริญก็ยังมีเสียงเพลงของ Robbie Williams แว่วมาตามสายลม

พูดถึงอิทธิพลของเสียงเพลงแล้ว จะเห็นบุคคลในตำแหน่งสำคัญต่างๆ ใช้เพลงเป็นที่ปลอบขวัญ และกำลังใจมนุษย์ เช่น ตอนที่กำแพงเมืองเบอร์ลินถูกพังทำลายเมื่อ พ.ศ.2532 ผู้ใหญ่ผู้โตทางการเมืองพากันร้องเพลงชาติอย่างกล้าหาญ

หรือในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2544 ในตอนค่ำหลังจากตึก World Trade ในเมืองนิวยอร์กถล่ม ผู้แทนราษฎรรวมกลุ่ม และพากันร้องเพลง "พระผู้เป็นเจ้าทรงอวยพระพรอเมริกา" (God bless America) เพื่อลดความชอกช้ำทางจิตใจ

ยิ่งในโบสถ์ การนมัสการไม่เคยเลยสักครั้งเดียวที่จะปราศจากการร้องเพลงถวายเกียตรพระผู้ เป็นเจ้า นักค้นคว้าชาวอังกฤษ นาย Ian Cross จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวเสริมว่า

"การมีเพลงเปรียบเสมือนมีสนามที่เล่นในจิตใต้สำนึก เพราะหัวใจของดนตรีนั้น ให้อิสระในการไปตีความ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ไปตามความนึกคิด และฝึกด้านจินตนาการ นั่นคือเรื่องจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในการจะพัฒนาสมอง"

*บทความทางวิทยาศาสตร์จากในนิตยสารเยอรมัน "เดียร์สปีเกิ้ล" (Der Spiegel) ฉบับที่ 31/28 ก.ค.2546 *
Philip Bethge-เขียน ดวงดี คงธัญญะงาม-แปล

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=0415261147&srcday=2004/11/26&search=no

ดนตรีการเมือง (Music in Politics)


www.youtube.com/v/pyaBjNQJ5is?
มนต์การเมืองขับร้องโดย - คำรณ สัมบุญนานนท์
ตัวอย่างเพลงเกี่ยวกับการเมือง

ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยมีมิติของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมที่น่าสนใจ

และสามารถมองเห็นภาพของบริบทด้านต่าง ๆ ที่สะท้อนภาพของสังคมไทยในมุมมองที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นยุคของประวัติศาสตร์ไทยจากสยามเก่า แนวทางในการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองไทย ยุคสยามใหม่และการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ.๒๔๓๕ ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ยุคการพัฒนาเศรษฐกิจและยุคสมัยอเมริกันในไทยระหว่างทศวรรษ ๒๕๐๐ และ ๒๕๑๐ ยุคขบวนการนักศึกษาเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ ตลอดจนการเมืองการปกครองในยุคปัจจุบัน เป็นต้น จากการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นในระบบการเมืองการปกครองของไทยในแต่ละช่วงเวลา นั้นการสะท้อนภาพของวิถีความเป็นอยู่ของสังคมในแต่ละยุคจะมีสภาพที่แตกต่าง กันไปไม่ว่าจะเป็นภาพสะท้อนของสังคมการเมือง ภาพสะท้อนของสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชาติ ตลอดจนภาพสะท้อนของอารยธรรมของโลกตะวันตกที่เข้ามาครอบงำในระบบสังคมในทุก ๆ ระดับ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นผลสะท้อนของการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของสังคม ดั้งเดิม การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของสังคมประเทศ และการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดต่อสังคมโลกเป็นต้น ดังนั้นระบบการเมืองการปกครองมีผลต่อสภาพวิถีชีวิตของคนในชาติโดยตรงที่ไม่ สามารถหลีกเลี่ยงได้ ในแต่ละยุคสมัยของการเมืองการปกครองของประเทศไทยพยายามที่จะดำเนินแนวทางใน การพัฒนาชาติเพื่อความอยู่รอด และความสงบสุขอยู่ดีกินดี ตลอดจนสามารถดำรงอยู่ในสังคมโลกได้อย่างสมภาคภูมิ

นโยบายชาตินิยม (Nationalism) เป็นวิธีการหนึ่งที่สะท้อนภาพของการสร้างชาติให้คนในชาติมีความสำนึกการเป็น ส่วนหนึ่งของชาติ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นในการเกิดความร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อชาติของตน และทุกคนในชาติต้องมีส่วนร่วมให้ความตระหนักในสิ่งที่เกิดขึ้น

ดนตรีการเมือง (Music in Politics) ที่เกิดขึ้นในยุคชาตินิยมไทย พ.ศ.๒๔๘๑ ถึง ๒๔๘๗ เป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตและสังคมไทยในทุก ๆ ด้าน บทเพลงก็เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้คนในชาติมีจิตสำนึกในการร่วมกันสร้าง ชาติ โดยสนองต่อนโยบายด้านต่าง ๆ ของรัฐในยุคสมัยนั้น

เช่นสะท้อนจากรัฐนิยม ๑๒ ฉบับ ในการปกครองสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นต้น ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวได้แพร่กระจายไปยังองค์กรและบุคคลต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ ส่งผ่านไปยังแนวคิดต่าง ๆ ผ่านบทเพลงไปยังวิถีชีวิตในทุกระดับของคนในประเทศได้อย่างผสมกลมกลืน

ดังนั้นการศึกษาดนตรีการเมืองในยุคสมัยชาตินิยมไทย จะทำให้ทราบถึงคุณค่าของบทเพลงที่สามารถเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก และความสำนึกร่วมของคนในชาติได้อย่างชัดเจน รวมทั้งทราบถึงภาพเชิงซ้อนทางมิติทางสังคมที่สะท้อนมาในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อทำให้เข้าใจสังคมไทยมากขึ้น ตลอดจนการนำบทเพลงการเมืองที่อยู่ในยุคสมัยชาตินิยมที่เกิดขึ้นในอดีตไป ประยุกต์ใช้กับสังคมปัจจุบันหรือสังคมอนาคตอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติต่อไป

ลัทธิชาตินิยมในประเทศไทย
ลัทธิชาตินิยมเป็นพลังสำคัญอันหนึ่งที่เป็นแนวคิดในเรื่องของชาติที่เป็นลักษณะอุดมคติ

สมัยใหม่ ซึ่งได้มีการแพร่หลายครั้งแรกในสมัยการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.๑๗๘๙ โดยนักปฏิวัติในยุคนั้นให้แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องชาติในการที่จะต่อต้านและ ทำลายระบบสังคมแบบเก่าของประเทศในยุโรปจนกลายเป็นพลังในการตื่นตัวในความ รู้สึกแนวคิดที่เป็นชาตินิยมขึ้นมา แนวคิดชาตินิยมได้แพร่กระจายไปสู่ประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วรวมทั้งการแพร่กระจายมายังประเทศในแถบเอเซียอาคเนย์ (South East Asia) ซึ่งประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวที่ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของตะวันตก ก็ได้รับอิทธิพลการนำเอาแนวคิดทางลัทธิชาตินิยมมาร่วมมือกันในการผนึกกำลัง ในการต่อต้านอาณานิคมเพื่อเรียกร้องเอกราชของประเทศ

ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ที่คงความป็นเอกราช อยู่ได้ตลอดมา ดังนั้นลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงมีลักษณะที่แตกต่างกับลัทธิ ชาตินิยมในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งลัทธิชาตินิยมในประเทศไทยนั้น ผู้ปกครองประเทศหรือรัฐบาลเป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นโดยการนำมาเผยแพร่ ทั้งนี้เพราะต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน ในอันที่จะต่อต้านอิทธิพลอย่างใดอย่างหนึ่งที่มาคุกคามความมั่นคงของ ประเทศ(จุลลา งอนรถ,๒๕๑๓:ก)

คำว่า ชาติ หมายถึง การเกิด การเป็นขึ้นมา การเอากำเนิดใหม่ พวก ตระกูล ครัว เหล่า
กำเนิด หมู่และประเทศ ฉะนั้นเมื่อพิจารณาความหมายตามนัยทางการเมืองแล้ว จะเน้นหนักไปในรูปของบุคคล หรือประชาชนตามลักษณะเชื้อชาติ สัญชาติ และวัฒนธรรม กล่าวคือ หมายถึงกลุ่มคนที่มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อภาระหน้าที่ใน ลักษณะที่เหมือนกัน มีความจงรักภักดีร่วมกัน ดังนั้นคำว่า ชาติ จึงมีความสัมพันธ์กับคำว่า เชื้อชาติ เป็นการกล่าวถึงส่วนรวมของมนุษย์ที่มีเชื้อชาติเดียวกัน ร่วมโชคชะตากัน (วิจิตร วาทการ,หลวง,๒๕๐๕:๒๕๗) เช่นเกิดขึ้นในภูมิภาคเดียวกัน มีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในหน่วยงานปกครองของรัฐบาลเดียวกัน ในปัจจุบันนี้มีความหมายตรงกับคำว่ารัฐหรือพลเมืองของรัฐ

สำหรับประเทศไทยคำว่า ชาติ เริ่มมีความหมายครั้งแรกในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังมีการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นแบบเทศาภิบาล และมีการใช้อย่างแพร่หลายในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในลักษณะที่สร้างความเข้าใจถึงภาระหน้าที่ของประชาชนที่มีถิ่นกำเนิดของตน นับได้ว่าเป็นการเผยแพร่เพื่อสร้างแนวทางของความรักชาติ และชาตินิยมในหมู่ไทย

ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๑ ถึง ๒๔๘๗ ความหมายของคำว่า ชาติ ได้เน้นเรื่องเชื้อชาติ ให้เด่นชัดขึ้นมาทั้งนี้เพื่อให้ความสอดคล้องกับการปลูกความสามัคคี และเกี่ยวพันอย่างสนิทในระหว่างชาวไทยในประเทศสยามกับชาวไทยที่กระจัดกระจาย ในประเทศอื่น ๆ ให้ความรู้สึกมีความเป็นพี่น้องกันในทางเชื้อชาติ นอกจากนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการสร้างชาติ-ชาตินิยมในสมัยนั้น

จากวิทยานิพนธ์ เรื่อง กำเนิดและความเป็นมาของลัทธิชาตินิยมในประเทศไทย ของ ม.ล.จุลลา งอนรถ ได้แบ่งลัทธิชาตินิยมในประเทศไทยเป็น ๒ ยุค คือลัทธิชาตินิยมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และลัทธิชาตินิยมสมัยรัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

ลัทธิชาตินิยมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวถือว่าเป็นผู้ปลูกฝังความรู้สึกลัทธิชาติ

นิยมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถกล่าวได้ว่าพระองค์ท่านได้สร้างความรู้สึกในเรื่องชาตินิยมโดยการปลูก ฝังลงในจิตใจของประชาชน ทั้งทางพระบรมราโชวาท บทพระราชนิพนธ์ การสร้างสัญลักษณ์ต่าง ๆ ประกอบกับมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ช่วยกระตุ้นความรู้สึกให้เพื่อขึ้น ลัทธิชาตินิยมจึงเป็นความรู้สึกที่แพร่หลายอยู่ในขณะนั้น

ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยมในสมัยดังกล่าว เป็นผลต่อเนื่องในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากเหตุการณ์ความกดดันจากประเทศทางยุโรป และจากการก่อการของชาวจีนในประเทศ จึงได้ทำให้คนไทยมีการเคลื่อนไหวเพื่อที่จะต่อต้านจากเหตุการณ์ดังกล่าว จากประเด็นนี้ทำให้คนในชาติเริ่มเกิดความรู้สึกเรื่องชาตินิยมขึ้นมา และต่อจากนั้นได้มีการเชื่อมต่อแนวคิดดังกล่าวมายังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อไป

รายการบล็อกของฉัน